Sacit พาสื่อมวลชนลงพื้นที่ เยี่ยมชม กลุ่มสตรีทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม หมู่ 10 ชมกรรมวิธีการสร้างสรรค์งานหัตถกรรมจาก นางจุไรรัตน์ สรรพสุข ครูช่าศิลปหัตถกรรม มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่าน "ครูศิลป์ของแผ่นดิน และครูช่างศิลปหัตถกรรม" และมีการบูรณาการการทำงานร่วมกับ ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น มุ่งเน้นการสร้างโอกาสให้กับเครือข่ายต่างๆ ให้ได้ร่วมคิด ร่วมทำ เกิดความคิดและทางเลือกใหม่ ๆ เกิดพลังชุมชนที่เข้มแข็งจากฐานราก มีความพร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมในพื้นที่ สร้างความเชื่อมโยงระหว่างผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม วิถีชุมชน กับการท่องเที่ยวได้อย่างสมดุล
![]() |
นางจุไรรัตน์ สรรพสุข ครูช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2558 ประเภทเครื่องจักสาน |
เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยผ่านงานกกและเสื่อจันทบูรสู่ผลงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย จากงาน “สืบสานสู่สานต่อหัตถศิลป์ถิ่นสีสันของชุมชน” KOK Community ต้นน้ำ สู่ปลายน้ำ จันทบุรี สัมผัสเรื่องราวของการทอเสื่อกกอันเป็นเอกลักษณ์ ชมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากเส้นกกที่ผสมผสานระหว่างความดั้งเดิมและการออกแบบสมัยใหม่ พร้อมกิจกรรมเวิร์กชอปผ่านการสาธิตจริงจากช่างฝีมือท้องถิ่นที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้ทดลองเรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง
เสน่ห์ “กก” และ “เสื่อจันทบูร” หัตถศิลป์ทรงคุณค่าคู่ชุมชนจันทบุรี “กก” คือพืชท้องถิ่นที่เติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำของจังหวัดจันทบุรี ชาวบ้านนำมาผ่านกระบวนการเก็บเกี่ยว ตากแห้ง จัดเส้น และย้อมสีอย่างประณีต ก่อนนำมาทอเป็นเสื่อและของใช้ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดจากบรรพบุรุษมาอย่างยาวนาน “เสื่อจันทบูร” อยู่ที่ความละเอียดในการทอ ลวดลายที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ และสีสันที่สดใสไม่ซ้ำใคร โดยฝีมือช่างผู้มีประสบการณ์ ประกอบกับคุณสมบัติของต้นกกในพื้นที่จันทบุรีที่มีลักษณะเฉพาะ มีความแข็งแรง คงทน ทำให้เสื่อมีความทนทาน มันวาว เหมาะสำหรับการใช้งานจริง และยังเป็นงานศิลป์ที่สะท้อนถึงรสนิยมและอัตลักษณ์ของชุมชน
![]() |
นายอิสระ ชูภักดี ( New Young Craft ) ปี 2567 เจ้าของแบรนด์ กอกก ( korkok) จังหวัดจันทบุรี |
จากสิ่งของที่เป็นเพียงเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน วันนี้เสื่อจันทบูรถูกพัฒนาต่อยอดเป็นของตกแต่ง ของที่ระลึก และสินค้าไลฟ์สไตล์ร่วมสมัย อาทิ กระเป๋า พรม ปลอกหมอน และของประดับบ้าน ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์แล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้และโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ชุมชนอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น