นพ.สุทัศน์ คันติโต แพทย์สถาบันหัวใจและหลอดเลือด รพ.พระรามเก้า
มาร่วมรณรงค์ดูแลหัวใจกันเถอะเนื่องในวันหัวใจโลก 29 กันยายน นี้หลายคนคิดว่า การเกิดโรคหัวใจจะมีแต่ในผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วไม่มีเพียงแต่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ เด็กเล็กก็มีความเสี่ยงเรื่องโรคหัวใจได้เช่นกัน จากสถิติสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พบว่า โดยเฉลี่ยในเด็ก 1,000 คน จะพบเด็กเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 8 คน ซึ่งในกรณีนี้สามารถตรวจพบตั้งแต่ก่อนคลอด หลังคลอดภายใน 7 วัน หรือตรวจพบเมื่อเป็นผู้ใหญ่ เช่น ผนังกั้นหัวใจห้องบนหรือห้องล่างมีรูรั่ว ซึ่งในกรณีที่ตรวจพบ เมื่อเป็นผู้ใหญ่อาจจะมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถผ่าตัดได้ แต่โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดบางชนิดก็ใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยไม่ต้องรักษา เพียงแต่ต้องดูแลระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนเช่น ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่วเล็กน้อย รูในผนังหัวใจขนาดเล็ก
นพ.สุทัศน์ คันติโต แพทย์สถาบันหัวใจและหลอดเลือด รพ.พระรามเก้า บอกว่า การเกิดโรคหัวใจในภายหลังนั้นมีหลายสาเหตุ เช่น โรคหัวใจรูห์มาติก ที่เกิดจากไข้รูห์มาติก ทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว หรือ ตีบได้ ส่วนใหญ่จะพบในช่วงวัยเรียนโรคคาวาซากิ พบมากในเด็กเล็ก อาจทำให้มีเส้นเลือดหัวใจโคโรนารีโป่งพองโรคลิ้นหัวใจจากการติดเชื้อโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียเกือบทุกชนิดอาจเป็นสาเหตุของการอักเสบของลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจรั่วรุนแรงได้ นอกจากนี้ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่เด็กสามารถเป็นได้เช่นกัน อาจเกิดจากเชื้อไวรัสที่นำไปสู่การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งในบางรายมีภาวะหัวใจวายอย่างเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นช้า หรือเร็วเกินไป แต่ที่พบส่วนใหญ่ในเด็กจะเป็นชนิดเต้นเร็วผิดปกติ มักมีอาการเป็นๆ หายๆ และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายและอาจจะนำไปสู่การเสียชีวิตได้ในที่สุด
ดังนั้น สัญญาณเตือนภัยที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องหมั่นสังเกต ประกอบไปด้วย 5 อาการหลัก คือ1. หายใจหอบเหนื่อย 2.เล็บและปากเขียว
3.ใจสั่น หน้ามืด หรือเป็นลมบ่อยครั้ง ซึ่งอาจจะเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ
4.อาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการเจ็บหน้าอก (ในเด็กจะพบลักษณะนี้ไม่มากเท่าผู้ใหญ่
อาการเจ็บหน้าอกในเด็กมีส่วนน้อยเท่านั้น ที่เกิดจากโรคหัวใจ) และ
5. แพทย์ตรวจพบว่า มีเสียงหัวใจผิดปกติ
ซึ่งอาจจะแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการก็ได้เห็นได้ว่าสัญญาณเตือนภัยและอาการข้างต้นที่กล่าวมาแล้วนั้น เด็กที่เป็นโรคหัวใจ จะส่งผลต่อการพัฒนาการของเด็ก การเจริญเติบโตช้าไม่ทันในช่วงเด็ก
ในวัยเดียวกัน เหนื่อยง่าย ส่วนสูงและน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครอง
จึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญที่จะสามารถช่วยลูกน้อย ห่างไกลจากโรคหัวใจในเด็กได้ ซึ่งหากมีลักษณะ
อาการแสดงข้างต้นนั้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจเช็คสุขภาพร่างกาย หรือ ควรตรวจสุขภาพ
กับกุมารแพทย์เป็นประจำทุกปี เพื่อให้ลูกน้อยห่างไกลจากภัยเงียบของโรคหัวใจนั้นได้
3.ใจสั่น หน้ามืด หรือเป็นลมบ่อยครั้ง ซึ่งอาจจะเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ
4.อาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการเจ็บหน้าอก (ในเด็กจะพบลักษณะนี้ไม่มากเท่าผู้ใหญ่
อาการเจ็บหน้าอกในเด็กมีส่วนน้อยเท่านั้น ที่เกิดจากโรคหัวใจ) และ
5. แพทย์ตรวจพบว่า มีเสียงหัวใจผิดปกติ
ซึ่งอาจจะแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการก็ได้เห็นได้ว่าสัญญาณเตือนภัยและอาการข้างต้นที่กล่าวมาแล้วนั้น เด็กที่เป็นโรคหัวใจ จะส่งผลต่อการพัฒนาการของเด็ก การเจริญเติบโตช้าไม่ทันในช่วงเด็ก
ในวัยเดียวกัน เหนื่อยง่าย ส่วนสูงและน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครอง
จึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญที่จะสามารถช่วยลูกน้อย ห่างไกลจากโรคหัวใจในเด็กได้ ซึ่งหากมีลักษณะ
อาการแสดงข้างต้นนั้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจเช็คสุขภาพร่างกาย หรือ ควรตรวจสุขภาพ
กับกุมารแพทย์เป็นประจำทุกปี เพื่อให้ลูกน้อยห่างไกลจากภัยเงียบของโรคหัวใจนั้นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น