เปิดงานกันไปเรียบร้อยแล้วสำหรับงานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง ประจำปี 2562 ซึ่งจัดขึ้นอย่างอลังการท่ามกลางความร่วมมือร่วมใจของพุทธศาสนิกชนชาวเมืองแพร่ ที่หลั่งไหลกันมาร่วมขบวนแห่อย่างพร้อมเพรียงในทุกอำเภอ พร้อมกับพิธีเปิดและกิจกรรมต่างๆ มากมาย ล่าสุด ทางททท.สำนักงานแพร่ เตรียมพร้อมสำหรับการจัดงานเทศกาลประเพณีสงกรานต์ ที่จะมีขึ้นในเดือนเมษายนศกนี้อีกด้วย
สำหรับงานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ จัดขึ้น ณ วัดพระธาตุช่อแฮ ซึ่งวัดแห่งนี้ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ ประมาณ 9 กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข 1022)
ย้อนอดีต เมืองแพร่เมืองงาม เล่าขานตำนานช่อแพร่ช่อแฮแหล่งประดิษฐานพระเกศาธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ พระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า เมื่อถึงวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 4 ใต้ เดือน 6 เหนือ
ตำนานเล่าว่า อดีตกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงดอยโกสิยธชัคคะบรรพตและได้มอบพระเกศาธาตุให้ขุนลั๊วอ้ายก้อมไปบรรจุในผอบแก้วแล้วนำไปไว้ในถ้ำด้านตะวันออกของดอยที่ประทับ
ซึ่งผ้าแพรที่ขุนลั๊วอ้ายก้อมนำมารองรับพระเกศาธาตุนั้นเรียกว่า “ผ้าแฮ” นิยมนำผ้าแฮ หรือผ้าแพรมาประดิษฐ์เป็นช่อ หรือธง แล้วทำการถวายสักการะเป็นพุทธบูชา ต่อมาภายหลังเพี้ยนมาเป็น “ช่อแฮ่” หรือ “ช่อแพร่”
ผอ. ยุ้ย กล่าวถึงที่มาว่า “เป็นการเปิดเส้นทางเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ทราบว่า ที่แพร่มีที่กินที่ช้อปที่เที่ยวที่ไหนบ้าง จึงจัดกิจกรรมเป็นไฮไลท์ ขนมเส้นทั้งเก้าโดย ททท.จะทำการโปรโมทของกิน กาแฟ เพื่อให้คนได้มาแล้วใช้เงิน จริง ๆ แล้ว แพร่ แต่ก่อนคนไม่รู้ว่า เมื่อมาแล้ว จะกินอะไร ช้อปที่ไหน นี่จะเป็นกิจกรรมที่ททท.ต้องการนำเสนอให้กับนักท่องเที่ยวเหมือนเป็นไกด์สำหรับการเดินทางท่องเที่ยว”
ผอ.ททท.สำนักงานแพร่ กล่าวต่อว่า “หลังจากการจัดกิจกรรม ด้านงานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ ในเดือนเมษายนศกนี้ ทางททท. เตรียมการต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยงานเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน กิจกรรมจะอยู่ในธีมส์ สงกรานต์ย้อนยุค จัดขึ้น ณ กาดกองเก่า สามารถมาเที่ยว มากิน เก้าจุดขนมเส้นที่ดัง ๆ ของเรา เป็นแคมเปญเส้นทางขนมเส้น เส้นทางร้านกาแฟ เส้นทางอาหารท้องถิ่นประกอบระหว่างที่มาเที่ยวสงกรานต์ย้อนยุคที่นี่
เชื่อมโยงท่องเที่ยวสู่ประเพณีสงกรานต์ เพราะฉะนั้น วันที่ 13-15 เมษายน นักท่องเที่ยวเข้าวัดร่วมกิจกรรมก่อทราย เจดีย์ทราย กิจกรรมทำตุงไส้หมู การทำตุงไส้หมูจะทำในช่วงเทศกาลพิเศษ เพื่อนำไปบูชา การทำกรวยดอกไม้ซึ่งทำด้วยใบตองและทำในเทศกาลสำคัญเช่นกัน สงกรานต์นี้จะย้อนยุคเข้าไปในกาดกรุงเก่า และในวัดพระธาตุทั้งหมดในจังหวัดแพร่”
และเพื่อให้ได้อรรถรสในการเข้าร่วมงานประเพณีย้อนยุค ทางผู้อำนวยการททท.สำนักงานแพร่ เชิญชวนให้ประชาชนร่วมสวมเครื่องแต่งกายย้อนยุคอีกด้วย
ผอ. ททท.แพร่ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ด้านการแต่งตัว ประชาชนสามารถร่วมใส่เครื่องแต่งกายสไตล์ย้อนยุคได้ ที่แพร่ การแต่งกายจะเป็นการผสมผสานระหว่างล้านนา แพร่อยู่ล้านนาตอนล่าง เพราะฉะนั้นการแต่งกายจะผสมผสานกันระหว่างล้านนาที่เชียงแสน เชียงตุง และฝั่งข้างล่าง ลับแล ก็จะเชื่อมโยงกัน
ซึ่งการจัดงานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ จะปูพื้นไปสำหรับงานเทศกาลสงกรานต์เดือนหน้าด้วย โดยจัดในรูปแบบย้อนยุคคลาสสิค ขณะเดียวกัน ก็มีการจัดงานสงกรานต์ที่เข้ากับยุคสมัย ต่อด้วยวันที่ 16- 17 เมษายน สงกรานต์ที่นี่ดังมาก เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่คนทั้งเมืองจะสวมใส่เสื้อหม้อห้อมออกมาเล่นน้ำสงกรานต์กัน มีการปิดถนนเจริญเมืองเล่นสงกรานต์หม้อห้อม จะมีสปริงเกอร์น้ำ มีน้ำพุ”
“ไปเล่นน้ำสงกรานต์ที่อื่น แล้วมาปิดท้ายเล่นสงกรานต์หม้อห้อม ใส่เสื้อหม้อห้อมเล่นกัน ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมาหลายปีแล้ว เราจะผสมผสานกันระหว่างสงกรานต์ย้อนยุคและสงกรานต์ทันสมัย อยากสัมผัสกับสงกรานต์เมืองเล็ก ๆ กะทัดรัด ใครไม่อยากเที่ยวสงกรานต์ในเมืองใหญ่ๆ มาที่นี่
....ถ้าอยากได้บรรยากาศสงกรานต์ที่อบอุ่น มาที่เมืองแพร่คะ เมืองเล็ก ๆ แต่อบอุ่น งดงาม
คลิ๊กชมบรรยากาศ :
วัดพระธาตุช่อแฮ ไฮไลท์ของเมืองแพร่ที่พลาดไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น