ในสถานการณ์ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19 )
กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข
1.ผู้ประกอบการที่จัดบริการอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่ (delivery)
กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข
1.ผู้ประกอบการที่จัดบริการอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่ (delivery)
1) คัดเลือกร้านอาหารได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งเป็นสถานที่จำหน่ายอาหารจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
2) ติดตามสถานการณ์และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19)และให้ความรู้หรือประชาสัมพันธ์คนขนส่งอาหาร เช่น
การสวมหน้ากากที่ถูกวิธี และขั้นตอนการล้างมือที่ถูกต้อง เป็นต้นผ่านช่องทางต่าง ๆ
ของบริษัท
3) จัดบริการหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย
และเจลแอลกอฮอร์สำหรับทำความสะอาดมือให้แก่คนขนส่งอาหาร
4) จัดบริการตรวจสุขภาพให้แก่คนขนส่งอาหาร หากพบคนขนส่งอาหารมีอาการป่วย
เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ให้หยุดปฏิบัติงานและไปพบแพทย์ทันที
2.ร้านอาหารให้บริการอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่
(delivery)
1) อาหารปรุงสำเร็จต้องปรุงสุกใหม่
สำหรับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ปรุงให้สุกด้วยความร้อนไม่น้อยกว่า 70 องศาเซลเซียส
หลีกเลี่ยงการจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก
2) หากมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ
จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ให้หยุดปฏิบัติงานและไปพบแพทย์ทันที
3) จัดให้มีที่ล้างมือพร้อมสบู่สำหรับล้างมือ
หรือจัดให้มีเจลแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือ
4) จัดสถานที่ให้เพียงพอกับจำนวนคนขนส่งอาหารที่เข้ามาใช้บริการโดยจัดระยะห่าง
1 เมตร และมีการระบายอากาศที่เหมาะสม
5) จัดหาภาชนะบรรจุอาหารที่เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภทแข็งแรง
ปกปิดมิดชิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในระหว่างการขนส่ง ไม่ใช้โฟมในการบรรจุอาหาร
6) อาหารปรุงสำเร็จ มีการติดฉลากที่ระบุรายละเอียดอย่างชัดเจน
เช่น ชื่อร้านอาหาร วัน/เดือน/ปีเวลาที่ผลิต
ระยะเวลาและอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาอาหาร เป็นต้น กรณีจัดส่งอาหารเสี่ยง
เช่น อาหารที่ใช้มือสัมผัสมาก (ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบ ฯลฯ) อาหารที่มีส่วนประกอบของ
กะทิ นม ควรแนะนำให้ผู้บริโภคนำไปอุ่นร้อนก่อนรับประทาน
3. คนขนส่งอาหารเดลิเวอรี่ (delivery)
ได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับอาหารตั้งแต่กระบวนการสั่งซื้ออาหาร
การรับอาหารจากร้านอาหาร และขนส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค
1) สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตนเองและไอ
จามปนเปื้อนอาหาร และลดความเสี่ยงการได้รับเชื้อโรคระหว่างให้บริการ
2) ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอร์ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานขนส่งอาหารก่อนเข้าร้านอาหารหลังการส่งอาหารให้ผู้บริโภค
หลังเข้าส้วม หลังจับสิ่งสกปรก และจับเงิน
3)หากมีอาการป่วยเช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก
หรือเหนื่อยหอบ ให้หยุดปฏิบัติงานและไป
พบแพทย์ทันที
5) จัดหากล่องบรรจุอาหารท้ายยานพาหนะสำหรับขนส่งอาหารที่มีโครงสร้างที่แข็งแรง
ปกปิดมิดชิดในลักษณะที่ช่วยป้องกันการปนเปื้อน
และใช้กล่องบุฉนวนเพื่อรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม ต้องทำความสะอาดด้วยน้ำและน้ำยาทำความสะอาด
และฆ่าเชื้อโรคด้วย Alcohol
70 % โดยสเปรย์หรือหยด Alcohol 70 %
ลงบนผ้าสะอาดพอหมาดๆ เช็ดไปในทิศทางเดียวกันเป็นประจำทุกวัน
6) ตรวจสอบคุณภาพอาหารทันทีหลังได้รับจากร้านอาหาร เช่น ความสะอาด
สภาพอาหารและไม่มีกลิ่นเน่าเสียบรรจุอยู่ในภาชนะที่มีสภาพดี ไม่ชำรุดการปกปิดอาหาร
ฉลากอาหาร เป็นต้น
7) การส่งอาหารต้องแยกเก็บอาหารเป็นสัดส่วน
ระหว่างอาหารปรุงสำเร็จ และเครื่องดื่มและจัดส่งถึงมือผู้บริโภคให้เร็วที่สุด
8) ไม่ควรเปิดกล่องบรรจุอาหารท้ายยานพาหนะ
จนกว่าจะพบผู้สั่งซื้ออาหารโดยก่อนเปิดกล่องใส่อาหารทุกครั้งควรทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์จัดส่งอาหารให้ผู้สั่งซื้อโดยตรงหรือจุดที่ผู้สั่งซื้อกำหนดเพื่อลดความเสี่ยงการได้รับเชื้อโรคระหว่างให้บริการผู้สั่งซื้อในการส่งอาหารคนขนส่งอาหารควรอยู่ห่างผู้รับอาหารอย่างน้อย
1 เมตร หรือในกรณีที่ไม่ได้ส่งอาหารให้กับผู้สั่งอาหารได้โดยตรงสถานที่หรือบริเวณที่จะส่งอาหารต้องไม่ทำให้อาหารเกิดการปนเปื้อน
เช่น ไม่ส่งอาหารบริเวณใกล้ถังขยะ เป็นต้น และภายหลังส่งอาหารและหลังการจับเงินให้ทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์
9) ถอดถุงมือผ้าในระหว่างการหยิบจับอาหาร เพราะอาจเกิดการปนเปื้อนของฝุ่นละอองและเชื้อโรคที่สะสมในถุงมือผ้า
กรณีใส่ถุงมือผ้าในระหว่างการใช้ยานพาหนะขนส่งให้ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ก่อนการสวมใส่ทุกครั้งและเปลี่ยนถุงมือทุก
4 ชั่วโมง ทำความสะอาดถุงมือด้วยน้ำยาทําความสะอาดทุกวัน
4.
ผู้สั่งซื้ออาหาร/ผู้บริโภค
1) ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือ
หลังการรับอาหารจากคนขนส่งอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร
2) สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยหากมีอาการป่วยในระหว่างการรับอาหารจากคนขนส่งอาหาร
3) หลีกเลี่ยงการสั่งซื้ออาหารกลุ่มเสี่ยง
เช่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือเครื่องในสัตว์ที่ปรุงไม่สุก อาหารที่เน่าเสียง่าย
อาหารที่ปรุงด้วยนม กะทิ เป็นต้น กรณีอาหารเสี่ยง เช่น อาหารที่ใช้มือสัมผัสมาก
ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบ ฯลฯ อาหารที่มีส่วนประกอบของ กะทิ นม ควรนำไปอุ่นร้อนก่อนรับประทาน
4) ตรวจสอบคุณภาพอาหาร เช่น ความสะอาด
สภาพอาหารและไม่มีกลิ่นเน่าเสีย ความเหมาะสมของภาชนะบรรจุ การปกปิดอาหารเป็นต้น
เมื่อได้รับอาหารจากคนขนส่งอาหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น