เที่ยวทั่วไทย อร่อยทั่วโลก อัพเดทข่าวรายวัน Lifestyle บันเทิง ทันทุกกระแสข่าว!

04 มีนาคม 2566

หนึ่งปีมีครั้งเดียว พิธีล้างหน้าพระพักตร์พระเจ้าพาราละแข่ง (พระมหามัยมุนี) วัดหัวเวียง

ประเพณีตามความเชื่อที่ปฏิบัติสืบต่อมา ที่เชื่อว่าพระพุทธองค์ได้ประทานลมหายใจไว้ การแต่งกายชุดสีขาวหรือชุดปฏิบัติธรรม

5-6 มีนาคม 2566 ประเพณีสรงน้ำพระพักตร์ (ล้างหน้าพระพักตร์) พระมหามัยมุนี หรือพระเจ้าพาราละแข่ง ณ วัดหัวเวียง ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 

วัดหัวเวียง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2406 ไม่ปรากฎนามผู้สร้าง ตั้งอยู่ในตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บริเวณตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ใกล้ ๆ กับรันเวย์ของท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน ติดกับตลาดสายหยุด ซึ่งมีทางเข้าด้านทิศเหนือติดกับถนนพาณิชย์วัฒนา และทางเข้าอีกด้านอยู่ฝั่งทิศใต้ติดกับถนนสิงหนาทบำรุง 

จุดเด่นของวัดนี้คือ วิหารพระเจ้าพาราละแข่ง ซึ่งเป็นอาคารสร้างจากไม้ เรือนยอดซ้อนกันเป็นชั้น ๆ หลังคาเป็นแบบเรือนยอดทรงปราสาทซ้อนกันหลายชั้นแบบไทยใหญ่ ที่เรียกว่า “ปยาทาด” ด้านบนเป็นฉัตรโลหะ ขอบและชายเป็นสังกะสีฉลุเป็นลวดลายสวยงามตามศิลปไทยใหญ่ เรียกว่า “ปานซอย” ตัวอาคารแบ่งเป็น 2 ส่วนเรือนยอดที่ต่อเนื่องกัน เรือนยอดแรกเป็นเรือนยอดที่สูงที่สุด เป็นเรือยนอดที่ประดิษฐานพระเจ้าพาราละแข่ง มีรูปแบบเรือนยอดสไตล์อังกฤษ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการค้าไม้ในสมัยก่อน และอีกเรือนยอดหนึ่ง เป็นโถงสำหรับประกอบกิจกรรม ตัวอาคารเป็นแบบพม่าและไทยใหญ่ เดิมเป็นสังกะสี ซึ่งเป็นวัสดุนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ปัจจุบันได้ผ่านการบูรณะเป็นแบบแป้นเกล็ด 



วัดหัวเวียง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2406 ไม่ปรากฎนามผู้สร้าง ตั้งอยู่ในตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บริเวณตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ใกล้ ๆ กับรันเวย์ของท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน ติดกับตลาดสายหยุด ซึ่งมีทางเข้าด้านทิศเหนือติดกับถนนพาณิชย์วัฒนา และทางเข้าอีกด้านอยู่ฝั่งทิศใต้ติดกับถนนสิงหนาทบำรุง 

จุดเด่นของวัดนี้คือ วิหารพระเจ้าพาราละแข่ง ซึ่งเป็นอาคารสร้างจากไม้ เรือนยอดซ้อนกันเป็นชั้น ๆ หลังคาเป็นแบบเรือนยอดทรงปราสาทซ้อนกันหลายชั้นแบบไทยใหญ่ ที่เรียกว่า “ปยาทาด” ด้านบนเป็นฉัตรโลหะ ขอบและชายเป็นสังกะสีฉลุเป็นลวดลายสวยงามตามศิลปไทยใหญ่ เรียกว่า “ปานซอย” ตัวอาคารแบ่งเป็น 2 ส่วนเรือนยอดที่ต่อเนื่องกัน เรือนยอดแรกเป็นเรือนยอดที่สูงที่สุด เป็นเรือยนอดที่ประดิษฐานพระเจ้าพาราละแข่ง มีรูปแบบเรือนยอดสไตล์อังกฤษ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการค้าไม้ในสมัยก่อน และอีกเรือนยอดหนึ่ง เป็นโถงสำหรับประกอบกิจกรรม ตัวอาคารเป็นแบบพม่าและไทยใหญ่ เดิมเป็นสังกะสี ซึ่งเป็นวัสดุนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ปัจจุบันได้ผ่านการบูรณะเป็นแบบแป้นเกล็ด 

ปัจจุบันในเมียนมา พระมหามัยมุนี ได้รับการนับถือว่าเป็น 1 ใน 5 ของ มหาสถานที่ที่สำคัญ ได้แก่ พระมหมัยมุนีแห่งเมืองมัณฑะเลย์ เจดีย์ชเวดากองแห่งเมืองย่างกุ้ง เจดีย์ชเวมอดอแห่งเมืองหงสาวดี เจดีย์ชเวชิกองแห่งเมืองพุกาม และเจดีย์ชเวสันดอแห่งเมืองแปร 

สำหรับประเทศไทย พระเจ้าพาราละแข่ง หรือ พระมหามัยมุนี เท่าที่ทราบในประเทศไทย เดิมมีเพียง 2 แห่ง ได้แก่ วัดไทยวัฒนาราม อำเภอแม่ฮสอด จังหวัดตาก และวัดหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ต่อมาก็ปรากฎความนิยมจำลองเพิ่มมากขึ้นในที่ต่างๆ เช่น วัดทุ่งโป่ง ตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน   

พระเจ้าพาราละแข่ง หรือ พระมหามัยมุนี ซึ่งองค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดหัวเวียงแห่งนี้ เป็นพระพุทธพระมหามัยมุนีที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เป็นพระพุทธรูปที่สวยงามศิลปะไทยใหญ่ แบบทรงเครื่องขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัย ทรงเทริด ศิลาภรณ์ สังวาลย์ อินทนิล โดยลุงจองโพหย่า ได้ไปจำลองและอัญเชิญมาจากพม่า ซึ่งหล่อจากทองเหลือง หล่อเป็นส่วน ๆ แยกได้ 9 ส่วน  น้ำหนัก 999 กิโลกรัม ล่องมาทางแม่น้ำปาย แล้วนำไปประกอบองค์พระที่วัดพระนอน แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดหัวเวียง ซึ่งก็ได้มีการสืบทอดความเชื่อความศรัทธาต่อองค์พระพุทธรูปนี้มายาวนาน โดยจะกระทำพิธีสรงน้ำพระพักตร์หรือล้างหน้าพระเจ้าพาราละแข่งอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซี่งในปีนี้จะเป็นวันที่ 5-6 มีนาคม 2566 

ข้อมูลบางส่วนจากการอบรมและคู่มือการอบรมเคล็ดลับการเล่าเรื่องตามเส้นทางการท่องเที่ยวมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติเชิงสร้างสรรค์ โครงการจัดการการท่องเที่ยวมรดกวัฒนธรรมและธรรมชาติเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน : โมเดลภูมิทัศน์พิเศษทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ โดยการสนับสนุนของ สกสว. บพข. ม.ศิลปากร  ว่าที่ ร.ต. ภาณุวัฒน์ ขัดนาค ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. สำนักงานแม่ฮ่องสอน เรียบเรียง 

ติดตามรายละเอียดทาง Facebook : ททท. สำนักงานแม่ฮ่องสอน TAT Maehongson
โทรศัพท์ 0 5361 2982 - 3 ในวันเวลาราชการการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น