การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จัดงาน “ISB Forum & Awards 2023” ปี 2 พร้อมมอบรางวัล ISB Awards 2023 ให้ผู้ประกอบการ 9 แห่ง ใน 7 นิคมอุตสาหกรรมที่ผ่านการพิจารณาและการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงานในระดับสากล เชิญชวนภาคอุตสาหกรรมร่วมเป็นเครือข่ายสนับสนุนเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกและความเป็นกลางทางคาร์บอน “NEXT INDUSTRIAL REVOLUTION TOWARDS NET ZERO” เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนา อย่างยั่งยืน
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า โครงการยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสู่เกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของกนอ. (I-EA-T Sustainable Business : ISB) ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยการนำมาตรฐานสากลมาใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาให้เหมาะสมแก่อุตสาหกรรมไทย ยกระดับ ขีดความสามารถและภูมิคุ้มกันที่ดี ในการพัฒนาธุรกิจสร้างคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในปี 2566 ภายใต้กลยุทธ์ขยาย IMPACT โครงการฯ 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) เร่งการเข้าสู่มาตรฐาน พัฒนาผลสัมฤทธิ์ โดยทำงานกับนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมในบทบาท ISB Accelerator เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจเกณฑ์มาตรฐานผลสัมฤทธิ์ทางสังคมมากขึ้น 2) ส่งเสริมการเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี ในระดับประเทศและระดับสากลในบุคคลากรของภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อนผู้ประกอบการ จากกิจกรรม Workshop , Coaching และ ISB Roadshow ต่อเนื่องตลอดโครงการ 3) รายงานข้อมูล ESG และผลสัมฤทธิ์ Impact จากการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนให้กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ของอุตสาหกรรมไทยขึ้นทะเบียนขอรับรองสู่การเป็น ISB LIST โรงงานยั่งยืนของ กนอ. และ 4) เชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อจูงใจผู้ประกอบการ ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากการเข้าถึง Global BCORP Network , การเตรียมพร้อมเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ด้วยการมีข้อมูลด้านความยั่งยืนเพื่อรายงาน (ESG Reporting) ส่งเสริมภาพลักษณ์การเป็นแบรนด์ยั่งยืน และที่สำคัญคือโอกาสในการได้รับรางวัล ISB Awards และเตรียมความพร้อมสู่การประกวดรางวัลในระดับอื่น ๆ เช่น รางวัล Prime Minister’s Award เป็นต้น
“โครงการ ISB เป็นการส่งเสริมมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน (หรือ CSR-DIW) ตลอดจนมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (หรือ Eco Factory) ด้วยการยกระดับเกณฑ์ปฏิบัติที่ดีตามกรอบความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงงาน สู่การสะท้อนผลสัมฤทธิ์ (หรือ IMPACT) ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมไทยเติบโตและก้าวไปข้างหน้า ควบคู่ไปกับการดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล” นายวีริศ กล่าว
ด้านนางปนัดดา รุ่งเรืองศรี รองผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า การดำเนินงานโครงการ ISB ในปี 2566 เป็นการส่งเสริมความร่วมมือในระดับหน่วยงานภาคีสำคัญ ได้แก่ สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กนอ. และผู้พัฒนานิคมฯ ให้เป็นตัวแทน “ISB Accelerator” กว่า 30 นิคมอุตสาหกรรม เพื่อนำมาตรฐานดังกล่าวไปสู่ผู้ประกอบการ สะท้อนมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจ และยกระดับผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจเทียบเท่ามาตรฐานสากล “ISB Assessor” กว่า 50 ราย มีผู้ประกอบการที่ - ผ่านการตรวจรับรองและขึ้นทะเบียนเป็นธุรกิจยั่งยืน (ISB Lists) กว่า 10 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีการสร้างเครือข่ายพันธมิตร “ISB Community” กว่า 11 ภาคีพันธมิตร เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินกิจการที่ดีอีกด้วย
กนอ. มอบรางวัล ISB Award 2023 ให้แก่ผู้ประกอบการ 9 แห่ง ดังนี้ 1) รางวัล ISB EXCELLENCE ได้แก่ บริษัท แคนนอน ไฮ-เทค (ประเทศไทย) จำกัด 2) รางวัล ISB LEADER ได้แก่ บริษัท ดานิลี่ จำกัด, บริษัท ที.เค.เอส.สยามเพรส แมเนจเม้นท์ จำกัด, บริษัท ซีพีแรม จำกัด และบริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) 3) รางวัล ISB STRATEGY ได้แก่ บริษัท อูซูอิ อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท ยีเอส ยัวซ่า สยาม อินดัสตรีส์ จำกัด และ 4) รางวัล ISB INITIATOR ได้แก่ บริษัท เอ็นเอ็มบี- มินีแบ ไทย จำกัด โครงการ ISB ปี 2566 เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง “นิคม” และ “โรงงาน” เปรียบเสมือนรากฐานที่มั่นคงในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้เข้มแข็ง ควบคู่กับการเสริมความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เกิดความสมดุลระหว่างการขับเคลื่อนเศรษฐกิจกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการสนับสนุนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและความเป็นกลางทางคาร์บอนตามเป้าหมายของรัฐบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น