เที่ยวทั่วไทย อร่อยทั่วโลก อัพเดทข่าวรายวัน Lifestyle บันเทิง ทันทุกกระแสข่าว!

10 พฤศจิกายน 2566

รพ.พญาไท2 ในเครือ รพ. พญาไท-เปาโล ก้าวไปอีกขั้นกับการเป็นผู้นำการรักษาด้วย Probiotics

กรุงเทพฯ – มนุษย์เริ่มรู้จักจุลินทรีย์ว่าเป็นแบคทีเรียตัวร้ายที่ก่อให้เกิดโรคเท่านั้นตั้งแต่สมัยหลุยส์ ปาสเตอร์ ต่อมาเมื่อปี 2 007 สถาบันเฉพาะแห่งชาติอเมริกา The Human Genome Project ได้มีการค้นคว้าวิจัยทำการวิเคราะห์ยีนของจุลินทรีย์แต่ละสายพันธุ์มีชื่ออะไรบ้าง รวมถึงประโยชน์ของจุลินทรีย์แต่ละสายพันธุ์ และได้ค้นพบว่ามนุษย์มียีนอยู่ทั้งหมดประมาณ 20,000 ยีน จำนวนเท่ากับแมลงวัน แต่มนุษย์มีโครงสร้างยีนที่ซับซ้อนกว่าจากจุลินทรีย์ในร่างกาย ที่มีมากกว่ามนุษย์ 1,000 เท่า ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการหันมาสนใจจุลินทรีย์ หรือ Probioticในร่างกายของเรานั้นมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีทั้งจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ จุลินทรีย์ที่ไม่ก่อประโยชน์และโทษและจุลินทรีย์ตัวร้ายที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย จุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์นั้น คือคำที่เราได้ยินกันว่า Probiotic นั่นเอง

พญ. กอบกุลยา จึงประเสริฐศรี (หมอเพื่อน) ผู้อำนวยการ ศูนย์ Premier Life Center โรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าวว่า เมื่อเรายังอยู่ในครรภ์มารดา จำนวนจุลินทรีย์ยังคงเป็นศูนย์ “0” แต่ทันใดที่คลอดออกมาเพียง 2 ชั่วโมงก็จะมีจำนวนจุลินทรีย์ 10,000 ล้านตัว ที่เกิดขึ้นจากบุคคลแรกที่สัมผัสทารก เสื้อผ้าที่ทารกสวมใส่ อากาศที่เราหายใจ และเพิ่มเป็น 100 ล้านล้านตัว เมื่อครบ 1 สัปดาห์ เท่ากับเราทุกคน ณ ตอนนี้ จุลินทรีย์สามารถสร้างขึ้นได้จากพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่จะเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีหรือร้ายก็ขึ้นกับตัวเรานั่นเอง เช่น หากดื่มแอลกอฮอล์มาก พักผ่อนน้อย มีภาวะเครียด ก็จะเป็นจุลินทรีย์ร้ายที่มาทำลายจุลินทรีย์ตัวดีให้หายไปเรื่อยๆ


พญ. กอบกุลยา เล่าต่อถึงประโยชน์ของ Probiotics หรือจุลินทรย์ชนิดดี “โดยทั่วไปแล้ว Probiotics มีประโยชน์ในการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ ที่มีผลดีต่อสุขภาพรวมของร่างกาย โดยสรุปบทบาทสำคัญต่อสุขภาพ 6 ด้าน คือ 1. จุลิทรีย์ดีอำนวยการสร้างวิตามินให้กับมนุษย์ ทั้งวิตามิน B1, B6 ,B12, Folic และ วิตามิน K 2. ช่วยในเรื่องผิวพรรณ เพราะมีความเชื่อมต่อกันระหว่าง Gut-Brain-Skin Axis คือความเชื่อมโยงทางการแพทย์ระหว่างลำไส้ สมอง และผิวหนัง 3. เป็นแหล่งภูมิคุ้มกัน ที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เพราะ 70% ของ Secretory IgA Antibody ที่ฆ่าเชื้อโรค สร้างจากต่อมน้ำเหลืองที่ผนังลำไส้ 4. ควบคุมความหิว อิ่ม เพราะจุลินทรีย์ดีสามารถสร้างกรดไขมันขนาดสั้น Acetate , Butyrate สั่งการสมอง ให้สร้างฮอร์โมนควบคุมความหิว อิ่ม Cholecystokinin และ Peptide yy ได้ 5. สมดุลในเรื่องของอารมณ์ (Gut - Brain Axis) เพราะลำไส้สามารถสร้างสารสื่อประสาทสมอง Serotonin ได้เช่นเดียวกันกับสมอง 6. ช่วยในเรื่องของการป้องกันมะเร็ง เพราะจุลินทรีย์ที่ดีจะทำให้โปรตีนที่เรารับประทานเข้าไป ไม่ผันไปเป็นสาร Nitrosamine หรือ สารก่อมะเร็ง

พญ. กอบกุลยา อธิบายเพิ่มเติมว่า “ในแต่ละวัน จุลินทรีย์ในร่างกายจะไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งปริมาณและชนิด ตาม Lifestyle และการใช้ชีวิต ความต้องการ Probiotics ในแต่ละบุคคลจึงแตกต่างกันออกไปตามสภาวะสุขภาพ ดังนั้นการเติม Probiotics ให้แต่ละคนจึงมีความจำเป็นต้องเติมให้ เหมาะสมในเฉพาะบุคคล ซึ่งในปัจจุบันเราจะมีข้อมูลในเรื่องของสายพันธุ์ที่ถูกค้นคว้าแล้วจากจำนวนกว่า 35,000 สายพันธุ์ เราพอจะรู้ว่าแต่ละสายพันธุ์จะช่วยในเรื่องอะไรบ้าง ก็นำเอามาปรับใช้ในทางการรักษา เช่น บางคนมีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร มีภาวะซึมเศร้า ปัญหาการนอนหลับ เป็นต้น ดังนั้นการใช้ Probiotics เฉพาะบุคคล คือการเลือกสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ดีที่สุดสำหรับความต้องการของแต่ละคน นั่นเอง เพื่อให้ตรงจุดและความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละบุคคลให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมาก ที่สุด ซึ่งควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญการ โดยแพทย์จะทำการประเมิน ตรวจสุขภาพ พร้อมให้ คำแนะนำและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล รวมไปถึงการติดตามและประเมินผลลัพธ์ของ การใช้ Probiotics ในระยะยาว

​ด้าน นพ.ทวนทศพร สุวรรณจูฑะ ผอ.ฝ่ายมาตรฐานการแพทย์กลุ่ม 5 และผอ.ฝ่ายสนับสนุนการแพทย์โรงพยาบาลพญาไท2 เปิดเผยถึงเทรนด์สุขภาพของคนยุคปัจจุบันว่า “สุขภาพและ Probiotics เป็นเรื่องที่คนหลายคนให้ความสำคัญอย่างมากเนื่องจากการใส่ใจดูแลสุขภาพและเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและมากขึ้นผ่านช่องทางต่างๆ การใช้ Probiotics เข้ามามีบทบาทในการรักษาโรคบางโรค และถือเป็นอีกทางเลือกที่มีประโยชน์ในการเสริมสุขภาพลำไส้และระบบภูมิคุ้มกัน ไม่ต้องรับประทานยา ซึ่งโรงพยาบาลพญาไท 2 ในเครือรพ. พญาไท - เปาโล เป็นแห่งแรกในไทยที่เปิดให้บริการดูแลรักษา Probiotics เฉพาะบุคคล”


​ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มากมายในตลาดเกี่ยวกับการรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย ซึ่งเป็นแบบรวม แต่หากให้แนะนำ ควรตรวจสอบว่าร่างกายของเราขาดจุลินทรีย์ชนิดใด แล้วจึงเลือกเติมจุลินทรีย์ที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งวิธีการตรวจคือ การตรวจอุจจาระ ก็สามารถทราบได้ว่าเรามีจุลินทรีย์สายพันธุ์ใดบ้าง มีตัวร้าย ตัวดี จำนวนมากน้อยแค่ไหน แล้วนำมาวิเคราะห์ร่วมกับอาการของผู้ป่วย เพื่อนำไปปรับและผลิต Probiotics สายพันธุ์ที่เฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วย พร้อมทั้งคุณหมอจะแนะนำวิธีการใช้ชีวิต ปรับพฤติกรรมอย่างเหมาะสมของแต่ละบุคคล

“ทั้งนี้ รูปแบบของ Probiotics ที่ผู้ป่วยจะได้รับจะเป็นแคปซูลบรรจุ Probiotics โดยคุณสมบัติของแคปซูลที่ออกแบบมานี้จะเป็น Acid resistant vegan capsule ที่มีความทนต่อกรดได้สูงทำให้คงคุณภาพของ Probiotics ได้จนถึงบริเวณลำไส้ใหญ่ โดยปกติเมื่อเรากลืน Probiotics เข้าไปแล้ว เจ้า Probiotics สามารถตายได้ตลอดทางเนื่องจากจุลินทรีย์นี้ทนต่อสภาพเป็นกรดได้ไม่ดี จึงทำให้เขาอยู่ในกระเพาะอาหารไม่ได้เพราะทนความเป็นกรดไม่ได้นั่นเอง แหล่งที่มีจุลินทรีย์เยอะที่สุดคือลำไส้ใหญ่ ดังนั้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ ทำอย่างไรจะสามารถลำเลียง Probiotics ไปที่ลำไส้ใหญ่ได้โดยรักษาคุณภาพของจุลินทรีย์ให้สดใหม่และมีชิวิตเกือบ 100%” พญ. กอบกุลยา กล่าว



​สำหรับเทรนด์ในอนาคต พญ. กอบกุลยา ทิ้งท้ายไว้ว่า “ปัจจุบันคำที่เรามักคุ้นหูกันคือ Probiotics คือ จุลินทรีย์ตัวดี Prebiotic คือ อาหารของจุลินทรีย์ตัวดี Synbiotic คือ Probiotic และ Prebiotic ในอนาคตจะมี Postbiotics คือผลผลิตที่เป็นประโยชน์ที่จุลินทรีย์สร้างขึ้น Postbiotics เป็นอีกผลผลิตหนึ่งของจุลินทรีย์ ที่มีคุณสมบัติทางการแพทย์ที่น่าสนใจอย่างมาก เนื่องจากมีความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพของร่างกายในหลายๆ ด้าน การวิจัยในสาขานี้ยังคงพัฒนาอยู่และอาจนำไปสู่การใช้ Postbiotics เพื่อรักษาและป้องกันโรคในอนาคตต่อไป”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น