กระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เผยโฉมเครื่องประดับ ตอบโจทย์ทั้งทางด้านความสวยงามและทางด้านสุขภาพ พร้อมผลักดันอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย
นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย รองผู้อำนวยการสถาบัน รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ กล่าวว่า ในปี 2563 นานาประเทศทั่วโลก นี้ต้องประสบกับปัญหาวิกฤตไวรัสโควิด 19 และประเทศไทยเองยังเผชิญกับปัญหามลภาวะ PM 2.5 ที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพระยะยาว ซึ่งสภาวะเหล่านี้ ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายสินค้าเพื่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น ทางสถาบันจึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครื่องประดับสุขภาพ เพื่อพัฒนาสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับให้มีประโยชน์ใช้สอย มากกว่าเพื่อความสวยงาม เช่น เครื่องประดับเพื่อสุขภาพ เครื่องประดับเพื่อความทรงจำ เป็นต้น
สถาบัน ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อนำงานนวัตกรรมที่น่าสนใจมาร่วมพัฒนา
และออกแบบร่วมกับ นักออกแบบเครื่องประดับและผู้ประกอบการ เป็นเครื่องประดับต้นแบบ โดยครั้งนี้
ได้นำเทคโนโลยีที่ใช้ในเครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 เพื่อนำมาใช้เป็นองค์ประกอบของเครื่องประดับ โดยมีหลักการทำงานคล้ายเครื่องฟอก-อากาศ เพื่อดักจับอนุภาคของฝุ่น PM 2.5 ทำให้อนุภาคฝุ่นเป็นกลาง
หล่นลงสู่พื้น คงเหลือแต่อากาศที่สะอาดปราศจากฝุ่นควัน กลับสู่ธรรมชาติ มีความปลอดภัยต่อมนุษย์
และสิ่งแวดล้อม และสามารถใช้งานได้จริง ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด โดยผลักดันจุดแข็งด้าน
งานวิจัยมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์การออกแบบ สร้างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบรนด์ เป็นการสร้างคุณค่า และมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับให้มีคุณสมบัติที่เป็นมากกว่าเครื่องประดับทั่วไป
อีกทั้งยังได้มีการออกแบบเครื่องประดับเพื่อสุขภาพเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บ และ ช่วยในการเคลื่อนไหว อาทิ แหวนกันนิ้วล็อค และ เครื่องพยุงกล้ามเนื้อเพื่อช่วยในการเดิน เป็นต้น
รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยเทคโนธานี มหาวิทยาลัยมีความยินดีที่ให้การสนับสนุนในด้านการประสานงานการปรับแปลงวงจรของเครื่องฟอกอากาศ โดยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่การผลิต ซึ่งเป็นภารกิจหนึ่งของมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ภาคเอกชน รวมทั้งผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมของตนเองอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนการนำผลงานวิจัยมาถ่ายทอดให้คำปรึกษาเชิงลึก พร้อมผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยไปสู่การใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของสังคมและประเทศ ซึ่งการได้ร่วมมือกับ GIT ถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ได้ต่อยอดงานวิจัยให้เกิดผลผลิตที่แท้จริง”
นอกจากนี้ นายสุรศักดิ์ มณีเสถียรรัตนา หนึ่งในนักออกแบบ และ นักวิจัยอิสระ ที่ได้ร่วมออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบในโครงการ Beyond Jewelry ได้เสริมถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบว่า “แรงบันดาลใจในการออกแบบครั้งนี้ ถอดแบบจากการทำงานของเครื่องฟอกอากาศ ที่ใช้หลักการของประจุบวก และ ประจุลบ (ION) ของน้ำ ซึ่งอยู่รอบตัวเรา มาเป็นแรงบันดาลในการออกแบบ สร้องคอ ต่างหู และสร้อยข้อมือ โดยใช้เทคนิคการออกแบบให้มีความน่าสนใจ โดย คอลเลคชั่น Water Harmony I ใช้เทคนิคความสมมาตรทั้งซ้าย และ ขวา ซึ่งส่งให้เครื่องกรองอากาศมีความโดดเด่น และเปล่งประกายดังอัญมณี ส่วน Water Harmony II ใช้แนวคิดของการออกแบบที่ไม่มีความสมมาตร มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน และใช้เทคนิคที่ชื่อ Slice & Lock เพื่อให้ผู้ใส่สนุกกับการสวมใส่เครื่องประดับมากขึ้น
นอกจากนี้ GIT ยังมีผลงานที่น่าสนใจอื่นๆ อีกมากมายที่พร้อมเผยโฉมและจะทำให้คุณมอง
เครื่องประดับเปลี่ยนไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
02 634 4999 ต่อ 635 - 642
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น