ผู้นำการงานวิจัยอันทรงคุณค่าพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์สังคม ภายใต้แบรนด์ “CUphar (ซียูฟาร์)” สกินแคร์แบรนด์แรกของคณะเภสัชจุฬาฯ
วันที่ 8 ธันวาคม เป็นวันครบรอบ 109 ปี ของสถาบันที่มีคุณูปการกับสุขภาพของคนไทยมาอย่างยาวนาน คือเป็นวันสถาปนาวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทย และเป็นวันสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเภสัชจุฬาฯได้ร่วมพัฒนายาและดูแลการใช้ยาของประชาชน มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยาในประเทศไทยให้มีศักยภาพเทียบเท่านานาอารยะประเทศ อีกทั้งได้พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือ และยกระดับสุขภาพของคนไทย อาทิ วัคซีน Baiya SARS-CoV
และล่าสุดนวัตกรรมย้อนวัยผิว StemAktiv
ในโอกาสนี้ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิต ได้ร่วมกันทำบุญเนื่องในวันสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ ในงานมีทั้งแขกผู้มีเกียรติ คณาจารย์ต่างคณะ และหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึงคณะศิษย์เก่าที่เดินทางมาร่วมแสดงความยินดีกันอย่างอบอุ่น ซึ่งในครั้งนี้มีการนำผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของคณะเภสัชจุฬาฯ มาร่วมออกบูธในบริเวณงานอีกด้วย
ในปีนี้นับเป็นครั้งแรกที่คณะเภสัชจุฬาฯ ได้นำงานวิจัยนวัตกรรมออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์สังคมภายใต้แบรนด์ CUphar (ซียูฟาร์) โดยบริษัทจุฬาฟาร์เทค ภายใต้การดูแลของคณะเภสัชศาสตร์ฯ เอง ทั้งนี้จากความตั้งใจที่ต้องการนำนโยบายหลักของมหาวิทยาลัย "INNOVATION FOR SOCIETY” ของท่านอธิการบดี ท่านศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ มาสานต่ออย่างเป็นรูปธรรม ภายในงานท่านคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ศ.ภญ.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ ได้กล่าวถึงเจตนาในการนำความรู้สู่ผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้ว่า
“ โดยทั่วไปเราอยากนำงานวิจัยออกมาจากหิ้งสู่ห้าง คณะเภสัชฯ เรามีความรู้เกี่ยวกับงานวิจัย องค์ความรู้ทางด้านวิชาการ แต่แน่นอนถ้าให้เราทำทุกอย่าง คงต้องใช้ระยะเวลานานมาก เราจึงคิดว่าควรจะหา Distributor ที่มีความรู้ความสามารถ และมีความเข้าใจในงานวิชาการที่เราทำ ซึ่งคุณภาพของเราควบคุมโดยคณะเภสัชจุฬาฯค่ะ บริษัท ไทธนบุรี คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายของเรา ทำหน้าที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงมือผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น ”
ในปีนี้นับเป็นครั้งแรกที่คณะเภสัชจุฬาฯ ได้นำงานวิจัยนวัตกรรมออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์สังคมภายใต้แบรนด์ CUphar (ซียูฟาร์) โดยบริษัทจุฬาฟาร์เทค ภายใต้การดูแลของคณะเภสัชศาสตร์ฯ เอง ทั้งนี้จากความตั้งใจที่ต้องการนำนโยบายหลักของมหาวิทยาลัย "INNOVATION FOR SOCIETY” ของท่านอธิการบดี ท่านศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ มาสานต่ออย่างเป็นรูปธรรม ภายในงานท่านคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ศ.ภญ.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ ได้กล่าวถึงเจตนาในการนำความรู้สู่ผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้ว่า
“ โดยทั่วไปเราอยากนำงานวิจัยออกมาจากหิ้งสู่ห้าง คณะเภสัชฯ เรามีความรู้เกี่ยวกับงานวิจัย องค์ความรู้ทางด้านวิชาการ แต่แน่นอนถ้าให้เราทำทุกอย่าง คงต้องใช้ระยะเวลานานมาก เราจึงคิดว่าควรจะหา Distributor ที่มีความรู้ความสามารถ และมีความเข้าใจในงานวิชาการที่เราทำ ซึ่งคุณภาพของเราควบคุมโดยคณะเภสัชจุฬาฯค่ะ บริษัท ไทธนบุรี คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายของเรา ทำหน้าที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงมือผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น ”
โดยผลิตภัณฑ์ชุดแรกมาจากงานวิจัย StemAktiv ของท่าน ศ.ภก.ดร. ปิติ จันทร์วรโชติ รองคณบดีฝ่ายวิจัยคณะเภสัชศาสตร์ ซึ่งนวัตกรรมนี้เป็นการค้นพบโดยบังเอิญระหว่างงานค้นคว้าวิจัยเชิงลึกของเซลล์เพื่อพัฒนายาต้านมะเร็งมากว่า 15 ปี นวัตกรรม StemAktiv มาจากการคำว่า Stem cell และ Activation คำว่า StemAktiv จึงรวมความหมายว่า นวัตกรรมที่ช่วยกระตุ้นการทำงานให้สเต็มเซลล์กลับมาทำงานอย่างกระฉับกระเฉงอย่างเต็มประสิทธิภาพอีกครั้ง นับเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดในศาสตร์แห่งการชะลอวัย AntiAgeing ที่กำลังเป็นเทรนในขณะนี้
ในโอกาสนี้ โดยคุณอรธิชา ธรรมเกิดทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทธนบุรีคอร์ปอเรชั่น จำกัด ตัวแทนจำหน่ายหลักแต่เพียงผู้เดียวของแบรนด์ CUphar ได้เดินทางนำกระเช้าดอกไม้มามอบให้กับคณบดีและคณาจารย์ เพื่อร่วมแสดงความยินดีว่าวันนี้ความตั้งใจของคณะเภสัชศาสตร์ที่ต้องการนำความรู้จากหิ้งลงมาสู่ห้าง ได้กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพตอบโจทย์สังคมได้สำเร็จแล้ว และเพื่อเป็นกำลังใจว่าต่อไปนี้งานวิจัยดีๆจะต้องไม่อยู่บนหิ้งอีกต่อไป
ท้ายสุดนี้ ขอประชาสัมพันธ์โครงการการกุศลเพื่อทุนการศึกษาคณะเภสัชฯ คือโครงการ“ วิ่งเฉลิมฉลองวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทย 110 ปี PHARMA VIRTUAL RUN ” สะสมระยะทางวิ่งให้ครบ 110 KM จัดโดยสมาคมนิสิตเก่าคณะเภสัชจุฬาฯ สอบถามรายละเอียด และสมัครได้ที่ Facebook Page : Pharmacy Chula Alumni หรือที่ THAIFIT ไปจนถึง 31 ธ.ค.65
โครงการกระเช้าผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของคณะเภสัชจุฬาฯ
สอบถามรายละเอียดและสั่งจองได้ที่ ร้านยาโอสถศาลา โทร.02-218-8428
และที่ Line@ หรือ Facebook Page : CUpharonline
ทั้งสองโครงการจะนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายสนับสนุนให้ทุนการศึกษานิสิตคณะเภสัชศาสตร์จุฬาฯ ต่อไปสามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=4ZZxehv-kRI
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น