เที่ยวทั่วไทย อร่อยทั่วโลก อัพเดทข่าวรายวัน Lifestyle บันเทิง ทันทุกกระแสข่าว!

19 กรกฎาคม 2567

กรมการท่องเที่ยว เปิดเส้นทางท่องเที่ยวตอกย้ำเที่ยวไทย วางใจไปกับช้างชูงวง

กรมการท่องเที่ยวเปิดเส้นทางท่องเที่ยวมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Standard)นำสื่อมวลชนสัมผัสบริการท่องเที่ยวเครื่องหมายรับรอง “ช้างชูงวงเริงร่า” ในเมืองน่าเที่ยว ตอกย้ำภารกิจ
ยกระดับ Supply Side สู่ความยั่งยืน เดินหน้าตามนโยบาย รมว.เสริมศักดิ์ เที่ยวไทยได้ทุก Season

วันที่ 16 - 17 กรกฎาคม 2567 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เดินหน้านโยบายนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา “ขับเคลื่อนท่องเที่ยวไทย ท่องเที่ยวปลอดภัย เที่ยวได้ทุก Season” เปิดเส้นทางท่องเที่ยวมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย ภายใต้แคมเปญ “Trust me วางใจไปกับช้างชูงวง” ตอกย้ำภารกิจก้าวย่างอย่างยั่งยืน ด้วยมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย เครื่องมือยกระดับ Tourism Supply Sideเพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างมูลค่า (Value) ให้มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย “ช้างชูงวงเริงร่า” เป็นที่นิยม ส่งเสริม



ให้ผู้ประกอบการเข้าสู่มาตรฐาน ตลอดจนประชาสัมพันธ์สถานที่ หน่วยงาน และสถานประกอบการที่ผ่านการรับรองมาตรฐานให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวและสาธารณชน นำสื่อมวลชนร่วม Press Trip ลงพื้นที่ตามเส้นทางกรุงเทพมหานคร ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนนทบุรี โดยมีนักแสดงชื่อดัง นิว - ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต ร่วมเปิดเส้นทางท่องเที่ยวสัมผัสประสบการณ์การบริการอย่างมีคุณภาพ จากสถานประกอบการที่ได้รับ การรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทยจากกรมการท่องเที่ยว ทั้ง รีสอร์ท ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตลอดจนรถตู้ปรับอากาศ เรือรับจ้าง และห้องน้ำสาธารณะ

เริ่มต้นเยือนกันในที่แรก ศูนย์แห่งการเรียนรู้ “เรื่องของโอ่ง” Pottery Legend : Ratchburi แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัย ที่นำเสนอขั้นตอนการผลิตโอ่งในรูปแบบดั้งเดิม จากอดีตถึงปัจจุบัน บอกเล่าเรื่องราวตำนานการทำโอ่งจากรุ่นสู่รุ่น ที่นี่จัดแบ่งโซนต่างๆ รวมทั้งพิพิธภัณฑ์ เรื่องของโอ่ง เอาไว้อย่างเป็นสัดส่วนสวยงาม รวมถึงห้องน้ำสาธารณะที่ได้รับมาตรฐานห้องน้ำสาธารณะเพื่อการท่องเที่ยว (ห้องน้ำโอ่งมังกรเขียว) นอกจากการออกแบบที่กลมกลืนกับพื้นที่แล้ว ยังสะอาดและสวยงามด้วยศิลปะการเพ้นท์ภาพบนฝาผนัง



นอกจากนี้ ภายในศูนย์แห่งการเรียนรู้ “เรื่องของโอ่ง” ยังมีร้านกาแฟ ชินฟู่ นอกจากจะมีเบเกอรี่อร่อยๆ ยังมีมุมเล็กๆ สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้เวิร์คช็อป เพ้นท์สีโอ่งเล็กๆ เพื่อเป็นของที่ระลึกนำกลับบ้านอีกด้วย 

ถัดมาเป็นจุดแวะที่สอง ร้าน Cook & Coff @ เรือนจำกลางราชบุรี จ.ราชบุรี ร้านแห่งนี้ได้รับมาตรฐานบริการร้านอาหารเพื่อการท่องเที่ยว เปิดบริการให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาชิมอาหารและ ช็อปผลิตภัณฑ์จากฝีมือผู้ต้องขังอีกด้วย  


หลังจากอิ่มกับอาหารอร่อยๆ จากฝีมือผู้ต้องขัง ที่เสริฟพร้อมกับเสียงเพลงขับกล่อมให้เพลิดเพลินกันแล้ว เราก็เดินทางกันต่อไปยังจุดแวะถัดมา ที่วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม แหล่งท่องเที่ยวมูเตลู เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย วัดชื่อดังของอำเภออัมพวา เป็นวัดเก่าแก่และมีความสำคัญมากวัดหนึ่ง ภายในประกอบไปด้วย อุโบสถหลังใหม่ ส่วนของสถานที่บรรจุร่างหลวงพ่อเนื่อง เกจิอาจารย์ชื่อดัง บรรจุไว้ในโลงแก้วบนศาลาการเปรียญ บริเวณสักการะองค์ท้าวเวสสุวรรณ เปิดให้เข้าชมทุกวัน หลังไหว้พระขอพรกันเรียบร้อย 

คณะสื่อมวลชนก็เดินทางกันต่อไปยังโรงแรมบ้านอัมพวา รีสอร์ทแอนด์สปา จ.สมุทรสงคราม เป็นจุดแวะถัดมา ที่นี่ได้รับมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยว ประเภทรีสอร์ท รีสอร์ทเรือนไทยริมแม่น้ำ ที่ให้บรรยากาศริมแม่น้ำแม่กลอง มีห้องพักทั้งหมด 59 ห้อง ท่ามกลางสวนไม้ไทยในวรรณคดี มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันภายในห้องสะอาด กว้างขวาง 



หลังเข้าเช็คอิน คณะสื่อมวลชนและผู้บริหารกรมการท่องเที่ยวได้นำสู่   จุดแวะที่ห้า ที่ร้านอาหาร The Pomelo Amphawa ครัวส้มโอหวาน อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ร้านอาหารอื่นเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย ซึ่งร้านแห่งนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง บนเนื้อที่สิบไร่ สวยงามที่สุดในยามเย็น เปิดบริการทุกวัน สอบถามข้อมูลโทร 061 394 3136 

มีท่าเรือคุณย่าให้บริการล่องเรือชมหิ่งห้อย ซึ่งถือเป็นจุดแวะถัดมา หลังทานอาหารเสร็จ ก็สามารถเดินลงเรือ ณ ท่าจากร้านอาหารได้เลย เรือท่องเที่ยวที่เรานั่งในครั้งนี้ได้รับมาตรฐานเรือรับจ้างเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเรือหางยาว นั่งได้แถวละ 3-4 คนรองรับได้สิบกว่าคน มีเสื้อชูชีพให้นักท่องเที่ยวสวมใส่ก่อนลงเรือทุกคน 



จากร้านอาหารเรือสองลำที่มาให้บริการ พาเราเดินทางสู่ตลาดน้ำอัมพวา ก่อนจะแวะชมหิ่งห้อยที่ปัจจุบัน ยังมีจุดแวะชมที่ทำให้นักท่องเที่ยวตื่นเต้นถึงความระยิบระยับของแสงจากตัวหิ่งห้อยได้หลายจุด สิ่งสำคัญคือนอกจากจะได้ชื่นชมวิถีชาวคลองแล้ว ยังได้เห็นการร่วมกันอนุรักษ์แหล่งอาศัยของหิ่งห้อยบริเวณต้นลำพูด้วย แม้ปัจจุบันจะหลงเหลืออยู่ไม่มากเท่าใดนัก 

เช้าวันรุ่งขึ้นวันที่ 17 กรกฎาคม คณะมุ่งหน้ากันต่อเพื่อไปสัมผัสกับชุมชนบ้านบางพลับ ที่ วิสาหกิจชุมชนบ้านบางพลับ ตั้งอยู่อำเภอบางคนที จ.สมุทรสงคราม มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ระดับดีเยี่ยม มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ระดับดีเยี่ยม ที่ที่บริหารจัดการโดยครูทรงยศ แสงตะวัน  ผู้เริ่มต้นนำส้มโอเข้ามาปลูกเมื่อหลายปีก่อน 




เป็นหนึ่งในชุมชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ  จากความร่วมมือร่วมใจของชาวชุมชน ซึ่งรองรับนักท่องเที่ยวให้ได้สัมผัสกับวิถีชุมชนดั้งเดิม ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 15 ไร่ บรรยากาศร่มรื่น มีการแบ่งฐานการเรียนรู้
ให้ได้ทำกิจกรรม ได้แวะชมและแวะช้อป รวมถึงการเวิร์คช็อป การทำน้ำตาลมะพร้าว การทำขนมไทยพื้นบ้าน การปลูกส้มโอไร้สารพิษ การเผาถ่านได้น้ำส้มควันไม้ การทำไข่เค็มจากดินจอมปลวก การทำซอจากกะลามะพร้าว การเรียนรู้เรื่องสวนมะพร้าว ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต่างชาติให้ความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีโฮมสเตย์ให้บริการด้วย สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 
ครูทรงยศ โทร 0 3476 1985 , 08 1274 4433

ที่นี่สามารถขี่จักรยานเยี่ยมชมได้สะดวกสบาย แต่ละฐานไม่ได้ไกล แถมเรายังเห็นความร่วมมือร่วมใจของชาวชุมชน อย่างเช่นการเผาถ่านที่มีพี่สถาพร ตะวันขึ้น ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่นระดับประเทศปี 2566 จากจิตอาสาที่ไม่มีค่าตอบแทนสู่ที่ปรึกษายุวเกษตรกร โรงเรียนวัดแก่นจันทน์ เป็นเกษตรกรอารมณ์ดีที่มุ่งมั่นมากกว่ายี่สิบปีในการสร้างทายาทเกษตรกร บอกเล่าเรื่องราวการเผาถ่าน ที่เอาถ่านตลอดมา ฐานเรียนรู้ที่มีลีลาการบรรยายได้อย่างสนุกสนานและเป็นกันเอง ปัจจุบันถ่านที่เผาสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดจนเป็นถ่านในรูปลักษณ์ผลไม้ โดยการนำผลไม้เหลือทิ้งมาเผา สามารถจำหน่ายเป็นถ่านรูปทรงผลไม้เพื่อนำไว้ใช้ในครัวเรือน ต่อยอดสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มขึ้น หลังจากแวะฐานบางฐานตามเวลาที่พอจะมี เราก็เดินทางกันต่อ มุ่งหน้าสู่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อทานอาหารกลางวันกันที่ร้านท่าเรือภัตตาคาร 2507 มาตรฐานบริการร้านอาหารเพื่อการท่องเที่ยว


ร้านอาหารแห่งนี้เป็นร้านเก่าแก่ในตัวเมืองมหาชัย ตั้งอยู่ด้านข้างท่าเรือเทศบาล (มหาชัย - ท่าฉลอม) อ.เมือง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง มีขนาดใหญ่เป็นอาคารสูง 7 ชั้น สามารถมองเห็นทัศนียภาพริมแม่น้ำท่าจีน ปากคลองมหาชัยและฝั่งท่าฉลอม บริเวณใกล้เคียงมีรับลมคาเฟ่ ร้านท่าเรือภัตตาคาร 2507 เปลี่ยนมือจากนายสกล ก๊กผล ร่านท่าเรือ 1964 (PIER 1964 ) สู่ ท่าเรือภัตตาคาร 2507 บริหารงานโดย ทายาทรุ่นที่สองของตระกูลแสงสุขเอี่ยม อาหารสด บรรยากาศดี มีเมนูเด็ดแนะนำมากมาย อาทิเช่น ออส่วน กุ้งแชบ๊วยคั่วพริกเกลือ ปลาจารเม็ดนึ่งบ๊วย หรือจะเป็นกุ้งแม่น้ำเผา เรียกว่าใครมาก็ต้องไม่พลาด ถือเป็นตำนานอาหารทะเล ราคาไม่แพง ด้านล่างมีช็อปจำหน่ายของที่ระลึกไว้บริการ
สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 065 096 4690 

และมาถึงจุดสุดท้ายก่อนกลับกรุงเทพฯ คือที่ ปั๊มน้ำมัน ปตท. เจษฎาบดินทร์ออยล์ จ.นนทบุรี มาตรฐานห้องน้ำสาธารณะเพื่อการท่องเที่ยว (ห้องน้ำชาย/ห้องน้ำหญิง ) ที่นี่ถือเป็นปั๊มน้ำมันขนาดใหญ่ มีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ร้านเสื้อผ้า ร้านกาแฟให้บริการจำนวนมากแทบจะไม่แตกต่างจากปั๊มปตท.ที่อื่น แต่ที่แตกต่างสุดๆ สำหรับเราคือห้องน้ำสาธารณะ นอกจากจะสะอาดสะอ้านแล้ว ยังไม่มีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ให้ได้ระคายจมูกกันเลย สมมาตรฐานไม่ต่างจากหลายสถานที่ที่ได้เข้าไปเยือนจริง ๆ





ทั้งนี้ มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมยกระดับผู้ประกอบการท่องเที่ยว มุ่งเน้นการบริหารจัดการและการให้บริการที่ดีมีคุณภาพ สร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มและสร้างความยั่งยืนสู่ผู้ประกอบการ มีทั้งสิ้น 56 มาตรฐาน อายุการรับรองมาตรฐาน 3 ปี ครอบคลุมการท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ ทั้งที่พัก สินค้าและบริการท่องเที่ยว ด้านกิจกรรมท่องเที่ยว ด้านแหล่งท่องเที่ยว และด้านธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ผู้ได้รับการรับรองมาตรฐานได้รับประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพการให้บริการ และการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ สร้างรายได้และเกิดความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ช่วยเสริมภาพลักษณ์อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการสถานประกอบการท่องเที่ยว ชุมชน โฮมสเตย์ และมัคคุเทศก์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย ด้วยความมั่นใจ คุ้มค่า โดยสามารถค้นหาสถานที่ และสถานประกอบการท่องเที่ยวที่ได้รับ

การรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย ผ่านทางเว็บไซต์ tts.dot.go.th 
เฟซบุ๊ก Thailand Tourism Standard 

สำหรับผู้ที่สนใจก้าวเข้าสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
หมายเลขโทรศัพท์0 2141 3235 และอีเมล tsactourism@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น