เปิดโลก” The open world “หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย” รองรับงาน Chiangrai International Art Museum :CIAM 2023
สถานที่แห่งนี้ หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย Chiangrai international art museum (CIAM) บนพื้นที่กว่า 17 ไร่ ของโครงการก่อสร้างหอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย เป็นที่ดินที่ได้รับบริจาคจาก นายทวี อร่ามรัศมีกุล จำนวนกว่า 17 ไร่
ดร. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินขัวศิลปะเชียงราย เพื่อสร้างการรับรู้ และเฉลิมฉลองการเป็นเจ้าภาพจัดงานศิลปะระดับโลก Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 – 30 เมษายน 2567 ภายใต้แนวคิด “เปิดโลก” The open world
ดร. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ |
ทั้งนี้ขบวนศิลปะร่วมสมัยของแต่ละอำเภอทั้ง 18 อำเภอในจังหวัดเชียงราย เป็นการนำเสนอแนวคิด อัตลักษณ์ วิถีชีวิต ประเพณี ผ่านผลงานประติมากรรมร่วมสมัย ผสมผสานขบวนแห่ในรูปแบบของ Carnival art ซึ่งถือว่าเป็น art carnival เพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทย
วันนี้แอดมิน Toptotravel ถือโอกาสนำเรื่องราวน่ารู้ของ “หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย” (CIAM 2023)มาแนะนำให้ได้ทำความรู้จักกันพอสังเขป ก่อนที่จะได้ชมความงามและความยิ่งใหญ่ของสถานที่จริงในช่วงนิทรรศการ หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย คือพื้นที่ศิลปะแห่งใหม่ของจังหวัดเชียงราย บนพื้นที่กว่า 6 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ติดต่อเขตเทศบาลตำบลบ้านดู่ ตรงข้ามท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เพื่อรองรับการจัดงาน Thailand Biennale ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2566 และบริเวณโดยรอบจะมีการก่อสร้างอาคารอื่นๆ พร้อมด้วยหมู่บ้านศิลปิน Art Village จำนวน 32 หลัง โดยการบริจาคที่ดินของ คุณทวีชัย อร่ามรัศมีกุล และงบประมาณในการก่อสร้างโดยทุนทรัพย์ส่วนตัวของศาตรเมธี ดร. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงราย และผู้ให้การสนับสนุน
ตัวอาคารสูงเทียบเท่าตึก 7 ชั้น รูปลักษณ์ทางด้านสถาปัตยกรรมดูเรียบง่ายร่วมสมัย ดูเสมือนรูปทรงเลขาคณิตวางซ้อน ชวนให้นึกถึงการวางหุ่นนิ่งในชั้นเรียนวิชาศิลปะอันเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ของศิลปินร่วมสมัยทุกคน หากแต่แฝงนัยของความหมายที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของศิลปะในจังหวัดเชียงราย สถาปัตยกรรมลักษณะเหมือนหอคอย ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 อาคารหลัก เป็นการผสมผสานศิลปะที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของ 2 ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงราย 2 ได้แก่ บ้านดำ ของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนีและวัดร่องขุ่น ของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ บริเวณพีรามิดกระจกของ CIAM จะเป็นจุดที่เรียกว่าหอชมเมืองเชียงราย ซึ่งสามารถชมทัศนียภาพของเมืองเชียงราย รวมถึงภูมิประเทศของเมืองเชียงรายแบบ 360 องศา ชวนให้นึกถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะระดับโลกอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ในประเทศฝรั่งเศส
Sky walk สะพานเชื่อม วัดขาว-บ้านดำ เป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของ CIAM ก่อสร้างด้วยวัสดุที่แข็งแรงมั่นคงความยาวกว่า 20 เมตร แฝงความหมายของคำว่าสะพาน ซึ่งภาษาเหนือที่เรียกว่า “ขัว” เพื่อระลึกถึงการก่อตั้งสมาคมขัวศิลปะ และการเดินทางแห่งความภาคภูมิใจของศิลปินเชียงราย สู่การเป็นสมาคมขัวศิลปะที่มั่นคงความเข็มแข็งและนำความภาคภูมิใจสู่จังหวัดเชียงรายและประเทศไทย
ด้านหน้าอาคารรูปทรงแท่งสี่เหลี่ยมจากฐานอาคารสลับกระจกใสทั้งเก้าต้น คือ เสาหลักแห่งศิลปะ เปรียบเสมือนความเจริญก้าวหน้าของศิลปวัฒนธรรมในแผ่นดินเชียงราย เป็นดินแดนที่หลอมรวมศิลปวิทยาการมาตั้งแต่อดีต ความหลากหลายของชาติพันธุ์ วัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา ภูมิประเทศที่หลากหลาย จึงทำให้เชียงรายเป็นดินแดนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยการสร้างสรรค์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เมื่อแล้วเสร็จภายในอาคารจะประกอบด้วย ห้องเกียรติยศ ถวัล ดัชนีย์ / ห้องเกียรติยศ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ /ห้องแสดงนิทรรศการ/ ห้องจัดจำหน่ายผลงานศิลปะและสินค้าของที่ระลึก/ห้องประชุม/ ห้องโถงขนาดใหญ่เพื่อรองรับการจัดกิจกรรมต่างๆ / Art Café Art Lab / ศูนย์เรียนรู้ และปฏิบัติการด้านศิลปะ/ ห้องฉายภาพยนตร์ 40 ที่นั่ง / ห้องจัดแสดงผลงานหมุนเวียน อีกทั้ง ลานกิจกรรมกลางแจ้ง ลานประติมากรรมร่วมสมัย ซึ่งพร้อมเปิดบ้านต้อนรับศิลปินและนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกที่จะมาร่วมพิธีเปิดงาน Thailand Biennale Chiangrai 2023 ในวันที่ 9 ธันวาคม 2566 นี้ ด้วยความยิ่งใหญ่สุดประทับใจ
เชียงราย เบียนนาเล่
ขอขอบคุณข้อมูล : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย / กระทรวงวัฒนธรรมhttps://www.chiangraifocus.com/13550/
#thailandbiennale #thailandbiennalechiangrai2023
#ไทยแลนด์เบียนนาเล่ #เบียนนาเล่เชียงราย#เชียงราย #thailandbiennale
#thailandbiennalechiangrai2023 #ไทยแลนด์เบียนนาเล่
#เบียนนาเล่เชียงราย #เที่ยววันธรรมดา #AmazingWeekdays
#StayAtChiangrai #เที่ยวสบายๆสไตล์เชียงราย
#AmazingChiangRaiLifestyle
#โมเมนต์ที่ใช่สร้างได้ไม่ต้องรอ
#สุขทันทีที่เชียงราย #toptotravel #ชัญญ่าว่าดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น