เที่ยวทั่วไทย อร่อยทั่วโลก อัพเดทข่าวรายวัน Lifestyle บันเทิง ทันทุกกระแสข่าว!

18 ตุลาคม 2560

ย้อนปมฉาว ขสมก.ซื้อรถเมล์

.คุณธรรม ล้มกระดานลาออก

ความพยายามที่จะดันราคากลางการประมูลรถเมล์ เอ็นจีวี. 489 คัน ของ ขสมก.ให้ขึ้นไปเกินกว่า 4,000 ล้านบาท ก็เพราะราคาเดิม 3.3 พันล้านบาท เป็นราคาที่ไม่สามารถจัดสรรค์เงินทอนกว่า 600 ล้านบาทตามความปรารถนาของกลุ่มคนบางกลุ่มได้  ทั้งผู้บริหาร ขสมก.ไล่ไปจนถึงระดับ ก.คมนาคม พร้อมใจขานรับกันเป็นทีมโดยหาเหตุว่า ราคา 3.3 พันล้านบาท ไม่มีผู้เข้าร่วมประมูลรายใดให้ความสนใจ เพราะเป็นราคาที่ต่ำเกิน
นายสุนทร ชูแก้ว ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทเบสทริน เปิดประเด็นไว้แล้วว่า ขสมก.หรือใครก็ตามที่กำลังใช้ความพยายามผลักดันราคากลางจาก 3.3 พันล้านเป็น พันกว่าล้าน ขอเรียนว่าราคาที่เบสทรินชนะเป็นราคาที่รวมภาษีต่างๆ และค่าธรรมเนียมครบถ้วนแล้วไม่มีความจำเป็นต้องซื้อแพงไปมากกว่านี้
นอกจากไม่มีใครฟังแล้ว….ขสมก.ยังเดินหน้าโดยนายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การ (บอร์ด) ขสมก.ออกมาฟันธงราคากลางรถเมล์เอ็นจีวีรอบใหม่ 4,020 ล้านบาท เปิดประมูลกลางเดือนตุลาคม พร้อมส่งมอบล็อตแรก 20 คันก่อนปีใหม่  ขณะที่มีกระแสข่าวออกมาว่า มีเอกชนรายหนึ่งนำเข้ารถบัสมีลักษณะตรงตามสเป็คและสีตามที่ ขสมก.กำหนดไว้เป๊ะ จำนวน 2 เที่ยวขน เที่ยวละ 16 คันรวม 32 คัน รถบัสปริศนาหน้าตาตรงตามสเป็ค ขสมก.จำนวนนี้คือรถ 20 คันแรกที่ ขสมก. ตั้งใจเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนผู้เข้าร่วมประมูลรายหนึ่ง เพราะใน ทีโออาร์. ขสมก.กำหนดส่งมอบรถโดยสาร จำนวน 20 คัน ภายในระยะเวลา 40 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา ซึ่งพอมีผู้ท้วงติง ขสมก. ได้ตัดข้อความในส่วนนี้ออก แต่ขสมก.กลับเพิ่มเกณฑ์การพิจารณาความสามารถในการส่งมอบรถโดยสารไว้ในข้อ โดยตั้งเป็นเกณฑ์การให้คะแนนสำหรับบริษัทฯที่สามารถนำส่งมอบรถได้เร็วกว่ารายอื่น
สรุปคือ….ยังงัย ขสมก.ก็ต้องช่วยเอกชนรายนี้ให้ได้ ว่างั้นเถอะ…!!!
เมื่อมาถึงจุดนี้จุดที่ ขสมก.ดื้อตาใส คงต้องย้อนไปเมื่อครั้งที่นางปราณี ศุกระศร นั่งรักษาการผู้อำนวยการ ขสมก.ได้ใช้ทุกวิถีทางที่จะลงนามสัญญาซื้อขายรถโดยสารเอ็นจีวี. 489คันกับเอกชนรายนี้ให้ได้เช่นกันท่ามกลางเสียงทักท้วงจากหลายฝ่าย แม้แต่เสียงคัดค้านจากคณะกรรมการที่ พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งขี้นและคาดหวังมากเพื่อแก้ไขป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐนั่นก็คือ  คณะกรรมการคุณธรรม ทำหน้าที่สังเกตการณ์โครงการจัดซื้อจัดจ้างทุกโครงการของรัฐบาล 
ในครั้งนั้น ขสมก.พยายามดันทุรังที่จะลงนามแต่ไม่สำเร็จ เนื่องเพราะมีผู้สังเกตการณ์คุณธรรม 2 ท่านประกาศลาออกไม่ขอร่วมสังฆกรรมลงนามในสัญญาจัดซื้อรถโดยสาร เอ็นจีวี. 489 คัน
ภายหลังมีมติบอร์ด ขสมก.ให้มีการเซ็นสัญญาซื้อขายกับกลุ่มกิจการร่วมค้า JVCC ที่มีบริษัท ช.ทวีดอลลาเซียนจำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะประมูลในวันที่ 17 สิงหาคม 2558เหตุการณ์ครั้งนั้นสกู๊ปหน้า  ขอำดับปัญหาที่เกิดขึ้นว่า ทำไมจึงไม่มีการเซ็นสัญญาซื้อขายเกิดขึ้น
มิถุนายน 2558 นายนพนันท์  วรรณเทพสกุล และนายอรุณ  ลีธนาโชค ผู้สังเกตการณ์โครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี จำนวน 489 คัน ส่งรายงานไปยัง ศ.เมธี ครองแก้ว ประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายมาตรการป้องกันการทุจริต (ป.ป.ช.) เพื่อเรียกเอกสารมาตรวจสอบ
มิถุนายน 2558 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติยุบคณะอนุกรรมการฝ่ายมาตรการป้องกันการทุจริต
มิถุนายน 2558  นายนพนันท์ และนายอรุณ ส่งบันทึกขอให้ระงับการลงนามสัญญาโครงการจัดซื้อรถโดยเอ็นจีวี จำนวน 489 คัน และการจัดหาผู้ซ่อมบำรุงรักษารถ ต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.)
พร้อมยื่นจดหมายลาออกจากการทำหน้าที่ผู้สังเกตการณ์ ลงวันที่ มิถุนายน 2558
มิถุนายน 2558 นายนพนันท์  อดีตผู้สังเกตการณ์ ในฐานะคณะอนุกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ด้านการป้องกันการทุจริตรายงานในที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ เพื่อรับทราบปัญหา
10 มิถุนายน 2558 นายนพนันท์  ทำบันทึกถึงนายมนัส  แจ่มเวหา  ประธานคณะอนุกรรมการการประสานความร่วมมือข้อตกลงคุณธรรม และ พล.อ.อนันตพร  กาญจนรัตน์  ประธานคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ขณะนั้น ขอให้ตรวจสอบความไม่ถูกต้องของการประกวดราคาและการจัดหาผู้ซ่อมบำรุงรักษารถโดยสารเอ็นจีวี. 489 คัน
11 มิถุนายน 2558 นายนพนันท์ และนายอรุณ ส่งรายงานผลการสังเกตการณ์ให้นายประมนต์ สุธีวงศ์  ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) พร้อมแจ้งว่าลาออกแล้ว
12 มิถุนายน 2558 มีการประชุมประสานงาน คตช. และรับทราบปัญหาการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี
16 มิถุนายน 2558 กรมบัญชีกลางเชิญ นายนพนันท์  เข้าชี้แจงในที่ประชุมคณะอนุกรรมการเรื่องรายงานผลการสังเกตการณ์ในโครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 489 คันของ ขสมก.
กรกฎาคม 2558 สองอดีตผู้สังเกตการณ์ และ รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ประธานคณะอนุกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติด้านการป้องกันการทุจริต เข้าประชุมหารือกับคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงของ ขสมก.
กรกฎาคม 2558 ขสมก.ส่งเอกสารด้านเทคนิคของผู้ชนะการประกวดราคาและประสงค์จะเสนอราคาเพื่อให้ตรวจสอบ กับ รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค
15 กรกฎาคม 2558 รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค จัดส่งรายงานผลการพิจารณาเอกสารด้านเทคนิคของผู้ชนะการประกวดราคาไปยังนางปราณี  ศุกระศร  รักษาการผู้อำนวยการ ขสมก. พร้อมสำเนาไปยังกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการต่อต้านด้านการทุจริตแห่งชาติ และประธานอนุกรรมการประสานความร่วมมือข้อตกลงคุณธรรม
24 สิงหาคม 2558 อดีตสองผู้สังเกตการณ์ ทำรายงานเพื่อนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.
เรื่องความไม่ถูกต้องโครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีและการจัดหาผู้ซ่อมบำรุง
  และขอให้ตรวจสอบเพื่อป้องกันความเสียหายแก่รัฐ
2 กันยายน 2558 คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อ.) พิจารณาคำร้องอุธรณ์ของบริษัทเบสท์รินและในวันที่ 25 กันยายน 2558  นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมให้ข่าวกับสื่อมวลชนว่าจะให้ขสมก.รายงานความคืบหน้าการจัดซื้อรถเมล์ล็อตแรก 489 คัน ในวันที่ 28 ก.ย. และจะดำเนินการซื้อรถพลังงานไฟฟ้าเข้ามาใช้แทนก่อนจำนวน 200 คัน 
นายอรุณ ลีธนาโชค ผู้สังเกตการณ์ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ผู้สังเกตการณ์คุณธรรมพบว่า ในขั้นตอนมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารระหว่างการเจรจาค่าซ่อม  ซึ่งระหว่างการประชุมเจรจาค่าซ่อมตนเองและอาจารย์นพนันท์ได้แย้งไปแล้วว่าไม่น่าจะทำได้  เนื่องจากเอกสารค่าซ่อมถือเป็นเอกสารหลักที่เป็นคุณสมบัติในการเข้าประมูล  ดังนั้นการเห็นเอกสารทีหลังแล้วมาแก้ไขใหม่เห็นว่าทำให้มีคุณสมบัติเรื่องเอกสารไม่ครบถ้วนและไม่ควรมีสิทธิตั้งแต่ก่อนเข้าประมูล
ทั้งนี้เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นข้อผิดพลาดของคณะกรรมการจัดซื้อของ ขสมก.ที่จัดเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีความรู้ทางด้านเทคนิคเข้ามาทำหน้าที่ ทำให้เกิดข้อผิดพลาดตั้งแต่เบื้องต้น จนกระทั่งก่อให้เกิดความบกพร่องส่งผลให้มีผู้ได้เสียในการประมูล
ราคากลาง 4,020 ล้านที่กำลังจะประมูลครั้งล่าสุดนี้ก็เช่นกัน มีการหมกเม็ดขึ้นราค่าค่าซ่อมบำรุงปีที่ 6 ถึงปีที่ 10 ส่งผลทำให้ราคากลางพรุ่งพรวดจาก 3,300 ล้านบาทแพงขี้นมาอีก 600ล้านบาทซ้ำรอยเดิม
ขสมก.ต้องทบทวน ไม่ใช่เอาแต่ดันทุรังกล่าวอ้างว่าขั้นตอนทั้งหมดถูกต้อง เพื่อปิดบังอำพรางข้อเท็จจริงบางประการไว้ จนกระทั่งทำให้เกิดการฟ้องร้องเป็นคดีความขึ้นมาแบบซ้ำซาก  ผู้บริหารระดับกระทรวงก็ต้องตรวจสอบด้วยว่า การที่เอกชนกระทำความผิดตามข้อตกลงคุณธรรม มีบทบัญญัติลงโทษอย่างไร?มีสิทธิ์เข้าร่วมสังฆกรรมกับ ขสมก.หรือไม่?
ขสมก.ควรย้อนดูประวัติศาสตร์ของตัวเองดูบ้าง เหตุฉาวๆซ้ำซากจะได้ไม่ย้อนกลับมาหลอกหลอนอีกครั้ง…!!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น