เที่ยวทั่วไทย อร่อยทั่วโลก อัพเดทข่าวรายวัน Lifestyle บันเทิง ทันทุกกระแสข่าว!

07 เมษายน 2562

วช. 5G พลิกโฉมงานวิจัย

ตอบโจทย์กระทรวงใหม่ฯ 
"อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม”


ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึงบทบาทของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในระหว่างงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562 ว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นด้วยเจตนารมณ์ให้เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนากำลังคนของประเทศ โดยบูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้วยการวิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนให้การวิจัยและนวัตกรรมได้ใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม วิชาการ ทั้งยังเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

โดยกระทรวงใหม่นี้จะมีคณะกรรมการ 4 คณะ ประกอบด้วย สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ, คณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ (กกอ.), คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา (กมอ.) และคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) และกำหนดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบที่ชัดเจน ร่วมกันทำงานแบบเกื้อหนุน แก้ปัญหาความซ้ำซ้อนในการทำงาน คือ หน่วยงานด้านนโยบายและกำหนดกรอบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, หน่วยให้ทุนวิจัย, หน่วยทำวิจัย, หน่วยงานด้านมาตรฐาน และหน่วยใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งต้องเชื่อมต่อกับหน่วยงานนอกกระทรวง ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมอีกด้วย

ทั้งนี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้รับมอบหมายเป็นหน่วยให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมหลักของประเทศ รวมไปถึงภารกิจการจัดทำฐานข้อมูลและดัชนีวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ, การริเริ่ม ขับเคลื่อนและประสานการดำเนินงานโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ, การจัดทำมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย, การส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์, การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวิจัยและนวัตกรรม และการให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณหรือยกย่องบุคคลหรือหน่วยงานด้านวิจัยและนวัตกรรม รวม 7 ภารกิจสำคัญในระดับประเทศ

โดย วช. มีการหารือร่วมกับหน่วยงานในกระทรวงการอุดมศึกษาฯ และสำนักงาน ก.พ.ร. ทำให้พร้อมปฏิบัติงานได้ทันทีและต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมหลักของประเทศ ซึ่ง วช. ได้นำเสนอทิศทางใหม่ของระบบทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ดังนี้

• Multi-year funding ด้วยการจัดสรรเงินตามกรอบวงเงินจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์
 วิจัยและนวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่องจนโครงการสำเร็จได้
• Outcome- and impact- driven เพื่อให้ทุนในเชิงรุกตามประเด็นยุทธศาสตร์ให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ
• Synergy & partnership เชื่อมโยงและเสริมพลังระหว่างหน่วยให้ทุน (วช., สวก., สวรส.) มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยทั้งในและนอกกระทรวง และการให้ทุนวิจัยครอบคลุมการวิจัยพื้นฐาน วิจัยประยุกต์ ทั้งวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ รวมทั้ง   สหสาขาวิชาการ และเชื่อมกับการพัฒนาบุคลากรวิจัยและการให้รางวัล
• Streamlined process  โดยพัฒนากลไกการทำงานด้วยระบบ Online 100% 5G- funding, กลไก ODU, Program Funding และ Matching Fund และ Monitoring and Evaluation โดยผู้ใช้ผลการวิจัย



และในขณะเดียวกัน วช. ได้เตรียมความพร้อมและยกระดับการทำงานตามภารกิจใหม่โดยแนวทาง “วช. 5G” ประกอบด้วย Speed ทำงานได้รวดเร็วขึ้น Start เริ่มทำงานได้ทันที ตอบสนองฉับพลัน Scope ขยายขอบข่ายการทำงานในระดับชาติ และนานาชาติ Connectivity เชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ Low Energy ทำงานคุ้มค่า ใช้ต้นทุนต่ำ ได้ผลผลิตสูง Smooth ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น และทำงานโดยไม่มีข้อจำกัด และ New Features คิดริเริ่มงานใหม่

และได้เปิดตัวเว็บไซต์ www.nrct.go.th และ www.facebook.com/nrctofficial เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาคมวิจัยได้ใช้เป็นช่องทางสื่อสาร แสดงความคิดเห็นและความพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น