SACIT จัดงาน " Crafts Bangkok 2023 " งานแสดงสินค้าศิลปหัตถกรรมไทยและงานคราฟต์สุดยิ่งใหญ่แห่งปี ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนและสร้างความแข็งแกร่งให้งานศิลปหัตถกรรมไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากลพร้อมผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางงานศิลปหัตถกรรมในระดับภูมิภาคอาเซียน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สอดรับนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ที่ต้องการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมที่มีรูปแบบที่ร่วมสมัย ตอบโจทย์ตลาดสากล โดยได้รับเกียรติจาก นาย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
โดยภายในงาน สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. จัดการแถลงข่าวและพิธีมอบรางวัลเกียรติบัตรตราสัญลักษณ์ “ตราศักดิ์สิทธิ์” (SACIT Brand) เพื่อเชิดชู สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยสู่การยอมรับในระดับสากล
นางสาวนฤดี ภู่รัตนรักษ์ รักษาการ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย หรือ SACIT เผยว่า สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมและสนับสนุนศิลปหัตถกรรมไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และ ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ รางวัลเกียรติบัตรตราสัญลักษณ์ “ตราศักดิ์สิทธิ์” หรือ SACIT Brand ได้เกิดขึ้นเพื่อมอบให้กับผลงานผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่มีคุณภาพผ่านการประเมินคุณค่าตามหลักเกณฑ์ของ SACIT Brand ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 5 หมวด ดังนี้
• SACIT Globalize กลุ่ม ตราศักดิ์สิทธิ์ ที่โด่งดังไปทั่วโลก ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่มีความงามในรูปแบบประยุกต์ศิลป์มีประโยชน์ใช้สอยได้อย่างมีคุณภาพจนเป็นที่ยอมรับในสากล
• SACIT Excellence กลุ่ม ตราศักดิ์สิทธิ์ ประณีตศิลป์ที่อนุรักษ์เชิดชู ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปะกระบวนช่างไทย มีความวิจิตรบรรจงงดงามอย่างยอดเยี่ยม
• SACIT Masterpiece กลุ่ม ตราศักดิ์สิทธิ์ ทรงคุณค่างานศิลป์ ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่มีความงาม ทรงคุณค่าในสุนทรียศิลป์ มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว มีกระบวนการผลิตเชิงช่างที่ถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น
• SACIT Trend ตราศักดิ์สิทธิ์ สมัยนิยม ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์โดดเด่นมีรูปแบบสมัยนิยมสร้าง Soft power ให้มีส่วนร่วมส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย
• SACIT Dream กลุ่ม ตรา สานต่อศักดิ์สิทธิ์ ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่ เกิดจากผลงานของเยาวชน สถาบันการศึกษาที่สืบสาน สร้างความจงรักภักดีใน SACIT เกิดจากความร่วมมือระหว่างองค์กรที่สนับสนุนให้เกิด การต่อยอดเชิงพาณิชย์ ขยายผลสร้างชื่อเสียงให้กับ SACIT
ซึ่งผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่มีคุณภาพผ่านการประเมินคุณค่าตามหลักเกณฑ์ของ SACIT Brand จากเกณฑ์การคัดเลือกชิ้นงานโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ และ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 ท่าน ได้แก่
1.ผู้ ช่วยศาสตราจารย์เอกพงษ์ ตรีตรง คณะกรรมการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย
2. รองศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ อินทรชูโต ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
3. นางสุพัตรา ศรีสุข อดีตผู้อำนวยการศูนย์บริการงานออกแบบ กรมส่งเสริมการส่งออก
4. นางนิศาบุษป์ วีรบุตร ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริม การค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์
5. ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ
6. ดร.สิริกร มณีรินทร์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงศึกษาธิการ นายกสภาสถาบันวิทยาลัยชุมชน
7 .นางสาวภัทรา คุณวัฒน์ กรรมการผู้จัดการสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย
8 .นางทองใบ เวชพันธ์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ (รษก.ผอ.กสร) รักษาการผู้อำนวยการกองส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม
9. นายอุทัย เจียรศิริ นายกสมาคมครูช่างศิลปหัตถกรรมไทย
10.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุจหทัย วงษ์กะพันธ์ หัวหน้าภาควิชานฤมิตศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11.นางสาวศศิวิมล มีจรูญสม ผู้อำนวยการกองบริหารมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และ ตัดสินโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ ผู้มากความสามารถด้านการออกแบบ จำนวน 5 ท่าน ดังนี้
1. นางสาวนฤดี ภู่รัตนรักษ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย
2. ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ศิลปินสาขาจิตรกรรม ศาสตราจารย์สาขาทัศนศิลป์
ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
3. นางสุพัตรา ศรีสุข อดีตผู้อำนวยการศูนย์บริการงานออกแบบ กรมส่งเสริมการส่งออก
4. ดร.สิริกร มณีรินทร์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงศึกษาธิการ นายกสภาสถาบันวิทยาลัยชุมชน
5. มล,คฑาทอง ทองใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ
6. คุณณฐมน ตันเกยูร นักออกแบบ
โดยในปีนี้มีผลงานที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับรางวัลเกียรติบัตรตราสัญลักษณ์ “ตราศักดิ์สิทธิ์” ทั้งหมด 34 ผลงานแต่ละชิ้นงานล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความงาม และอัตลักษณ์ของความเป็นไทยอย่างชัดเจน และนำมาจัดแสดงภายในงาน Crafts Bangkok 2023 ระหว่างวันที่ 26 – 30 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค ฮอล 98- 99
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น