เมื่อเร็วๆนี้ - มอบรางวัลสุดยอดครีเอเตอร์เยาวชนนักผลิตสื่อสร้างสรรค์ อีอีซี สแควร์ (EEC2) ปี 2567 หัวข้อ “นี่แหละ ภูมิปัญญาบ้านฉัน THIS IS MY LOCAL WISDOM” สร้างเครือข่ายเยาวชน ผลักดันศักยภาพสู่การเป็น Content Creator
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี จัดกิจกรรมประกาศผลรางวัล การประกวดกลุ่มเยาวชนนักผลิตสื่อสร้างสรรค์ อีอีซี สแควร์ (EEC2) ปี 2567 : EEC Square Young Content Creator ในหัวข้อ “นี่แหละ ภูมิปัญญาบ้านฉัน THIS IS MY LOCAL WISDOM” ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 3 ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ โดยมี ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวเปิดงาน พร้อมมอบประกาศนียบัตร และมอบรางวัลให้แก่กลุ่มเยาวชน นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในวงการสื่อสารไทยร่วมตัดสิน ผลงานของเยาวชนทั้งรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ อีก 5 ท่าน ได้แก่ ม.ร.ว.เฉลิมชาตรี ยุคล "คณะกรรมการยุทธศาสตร์ ซอฟท์พาวเวอร์แห่งชาติ " คุณหน่อง อรุโณชา"กรรมการผู้จัดการ บอร์ดคาสท์ไทย เทเลวิชั่น" ผู้จัดละครมากฝีมือ คุณเก่ง ธชย "The Voice ซีซั่น 1 และศิลปินส่งเสริมวัฒธรรมไทยยอดเยี่ยม" คุณเอม วรรณิตา "Influencer และอดีตผู้จัดการ บิวตี้และแฟชั่น บริษัท Bytedance (Tiktok) แห่งประเทศไทย" และอาจารย์ศาสวัต "อาจารย์เอกภาพยนตร์ สาขานิเทศศาสตร์ คณะเทตโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร" มาร่วมกันตัดสินคลิปวิดีโอและ Content ที่เยาวชนส่งเข้าประกวด ทั้งนี้ยังมีการบรรยายพิเศษในการเปิดมุมมองและแชร์ประสบการณ์จากผู้กำกับรางวัลระดับโลกในหัวข้อ “วิธีดึง Ideas ออกจากสมองตัวเอง”
โดย คุณอั๋น วุฒิศักดิ์ อนรรฆพร ผู้ก่อตั้งและผู้กำกับ บริษัท แฟคทอรีโอวัน จำกัด
สำหรับการประกาศรางวัล ทั้ง 4 รางวัล
🏆รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม SPSS MY BEST LOCAL WISDOM IN RAYONG จากโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา จังหวัดระยอง ซึ่งได้ส่งผลงานนำเสนอภูมิปัญหาเรื่อง “หัตถกวี”
🥈รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ทีม BPP จากโรงเรียนสิงห์สมุทร จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้ส่งผลงานนำเสนอภูมิปัญหาเรื่อง สะดือมังกร
🥉รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีม จบนะวิ! จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเปร็งวิสุทธาธิบดี จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งได้ส่งผลงานนำเสนอภูมิปัญหาเรื่อง เรือสิงห์หนุ่ม ความแกร่งแห่งสายน้ำ
🎖️รางวัล popular vote ซึ่งได้รับคะแนนโหวตจากการกด Like และ comment สูงที่สุด ผ่านช่องทาง facebook fanpage EEC Square Young Content Creator ได้แก่ทีมโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา จากโรงเรียนโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา จังหวัดระยอง ซึ่งได้ส่งผลงานนำเสนอภูมิปัญหาเรื่อง ผ้าหมักโคลนทะเล ภูมิปัญญาบ้านฉางบ้านฉัน
นอกจากนี้ อีอีซี ผู้ใหญ่ใจดี ยังมอบรางวัลพิเศษ สร้างโอกาสต่อยอดผลงานและพัฒนาศักยภาพให้แก่น้องๆเยาวชนที่ได้รับรางวัล ให้น้องได้ร่วมงานหรือฝึกงานกับทีมงานระดับมืออาชีพ อาทิ คุณเก่ง ธชย ศิลปินผู้มากความสามารถ และรักความเป็นไทย คุณเอม วรรณิตา นักปั้นเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และติ๊กตอกเกอร์ สร้างประสบการณ์ทำงานกับแบรนด์สินค้าต่างชาติระดับโลก บริษัท A.PLANNED Production house ร่วมฝึกงานสร้างแรงบันดาลใจการเป็นผู้กำกับรุ่นใหม่ ทีม Gravity motion production house ที่จะพาน้องๆไปศึกษาดูการทำงานจริงในกองถ่าย MV ของศิลปิน T-pop หรือจะเป็นการร่วมงานกับ Infuencer มืออาชีพ ในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวดีๆของพื้นที่ชุชนใน อีอีซี ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่จะทำให้น้องๆเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วผ่านการทำงานกับมืออาชีพและผู้ที่คว่ำหวอดในวงการบันเทิงทั้งไทยและสากล
กิจกรรมค่ายอบรมและการประกวดกลุ่มเยาวชนนักผลิตสื่อสร้างสรรค์ อีอีซี สแควร์ (EEC2) ปี 2567 : EEC Square Young Content Creator ภายใต้หัวข้อ “นี่แหละ ภูมิปัญญาบ้านฉัน THIS IS MY LOCAL WISDOM” สกพอ. ได้จัดกิจกรรมขึ้นเพื่อสร้างโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา เยาวชนรุ่นใหม่ในเขตพื้นที่ อีอีซี ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ได้พัฒนาศักยภาพให้มีทักษะด้านการสื่อสารที่สอดคล้องกับยุคสมัย โดยการดำเนินกิจกรรมมีการจัดค่ายอบรมแก่กลุ่มเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือก 20 ทีม ผลักดันศักยภาพสร้างสมประสบการณ์อย่างเข้มข้นร่วมกับวิทยากรชั้นนำ ให้น้องๆก้าวข้ามขีดความสามารถของตน ทั้ง การคิดอย่างสร้างสรรค์ การลงพื้นที่ถ่ายทำจริง เทคนิคการปรับสีภาพ การเล่าเรื่องด้วยลำดับภาพผ่านการตัดต่อ และความรู้เจาะลึกเกี่ยวกับอาชีพ Influencer แบบไม่มีในตำรา รวมถึงมีส่วนร่วมในการสืบสานถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ พร้อมทั้งมีความเข้าใจในการพัฒนา อีอีซี ทั้งหมดนี้ นอกจากการพัฒนาทักษะที่เพิ่มขีดความสามารถแล้ว ยังเป็นการสร้างเครือข่ายเยาวชนกลุ่มผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ผ่านสื่อออนไลน์ “EEC Square Young Content Creator” ให้เป็นแรงขับเคลื่อนช่วยเผยแพร่ข้อมูลการพัฒนา อีอีซี สร้างประโยชน์ให้ชุมชน และขยายการสร้างการรับรู้การพัฒนา อีอีซี ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น