สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT ชวนนักออกแบบไทยเข้าร่วมพัฒนางานศิลปหัตถกรรมไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ International Craft Creation Concept Award 2025 : I.CCA.2025 เพื่อส่งเสริมและผลักดันผลงานศิลปหัตถกรรมไทยให้ก้าวไกลในระดับสากล พร้อมชิงเงินสนับสนุนในการผลิตผลงานต้นแบบ รวมมากกว่า 650,000 บาท
ผศ.ดร. อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า โครงการ International Craft Creation Concept Award 2025 หรือ I.CCA.2025 เป็นอีกหนึ่งในภารกิจของ SACIT ในการมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้กับนักออกแบบไทย มุ่งเน้นการสร้างสรรค์ผลงานที่ผสมผสานเสน่ห์ของงานหัตถศิลป์แบบดั้งเดิมเข้ากับเทคนิคและวัสดุใหม่ ๆ ผ่านการพัฒนาในหลากหลายด้าน ทั้งในด้านเรื่องราว รูปแบบ และลวดลายให้เกิดเป็นผลงานร่วมสมัยที่ผสานเทคโนโลยี นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างการรับรู้ถึงการสืบสานและสร้างสรรค์งานหัตถศิลป์อย่างยั่งยืน และส่งเสริมการนำแนวคิดจากผลงานประกวดไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ในระดับสากล ภายในกิจกรรมที่ผ่านมามีการส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมประกวดในโครงการฯ ได้แสดงศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์และร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานออกแบบให้ตอบโจทย์จากนักออกแบบที่มีชื่อเสียงทั้ง 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Creative Craft Coach (นักสร้างสรรค์งานคราฟต์) และกลุ่ม Creative Community Curator (ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม) มาร่วมในกิจกรรม Craft Lab ทั้งในรูปแบบ Online และการเข้าร่วมกิจกรรม ณ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (SACIT)
ทีมวิชชุลดา ทางวิชชุลดาดีใจและเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้มาเป็นโค้ชในโครงการครั้งนี้ ไม่ใช่เพียงการแนะนำชิ้นงานให้กับนักออกแบบเท่านั้นแต่มองว่าเปรียบเสมือนการได้แลกเปลี่ยนแนวทางองค์ความรู้ด้วยกันร่วมกับผู้เข้าร่วมประกวด สำหรับทีมวิชชุลดา เราตั้งใจอยากให้นักออกแบบในทีมได้โชว์ศักยภาพและนำเสนอความเป็นตัวเองได้เต็มที่ โค้ชในมุมมองของวิชชุลดาทำหน้าที่ให้นักออกแบบได้ประสบความสำเร็จดั่งใจฝัน ในลำดับแรกจึงให้ผู้เข้าร่วมเล่าสิ่งที่ตัวเองถนัด และสิ่งที่อยากทำ เราทำหน้าที่รับฟังจับประเด็นและหาแนวทางว่าทำอย่างไรให้สิ่งที่เขาต้องการออกมาสมบูรณ์แบบให้ได้มากที่สุดภายใต้ข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สำหรับทีมของวิชชุลดาประกอบด้วย 2 ทีม คือ แบรนด์ครามพล และทีมปัทวี โดยครามพล มีจุดเด่นด้านการทำผ้า เขาเชี่ยวชาญมากด้านการทำแฟชั่นและมีเทคนิคอันแพรวพราว สำคัญเลยของการประกวดครั้งนี้คือ ทำยังไงให้ครามพลมีความหลากหลายมากขึ้น โดยใช้ความสามารถด้านแฟชั่นไปประยุกต์ให้ได้กับทุกอย่าง และมีเรื่องเล่าที่น่าสนใจราวกับศิลปินที่กำลังสร้างสรรค์งานศิลปะลงบนผืนผ้า
คุณศรุตา เกียรติภาคภูมิ กล่าวถึงการได้มาร่วมเป็น Creative Craft Coachในโครงการฯ กล่าวว่า เป็นเกียรติอย่างยิ่งในการที่ได้เป็นโค้ชในการแข่งขันครั้งนี้ เนื่องจากได้มองเห็นคนรุ่นใหม่ใหม่ที่ยังคงรักในงานศิลปหัตถกรรมและมีความมุ่งมั่นที่อยากจะสืบสานวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยให้เป็นงานสากลมากขึ้นเพราะตัวเราเองก็เคยเป็นเด็กตัวเล็กตัวน้อยในยุคหนึ่งที่จะต้องฝ่าฟันค้นหาเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เพื่อที่จะได้พัฒนาเป็นคนทำงานสร้างสรรค์ การได้กลับมาเป็นโค้ชทำให้เรารู้สึกว่าเหมือนกับมาย้อนมองดูตัวเองในอดีตจึงอยากที่จะมอบความรู้ความสามารถที่เรามีให้กับรุ่นน้องรุ่นใหม่ใหม่ที่จะเติบโตเป็นนักธุรกิจเป็นคนทำงานศิลปะหัตถกรรมเชิงพาณิชย์ได้มากขึ้น ในการให้คำปรึกษาพบว่าผู้เข้าประกวดบางท่านมีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ตัวเองมีพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นจากความถนัดเดิมสู่การพัฒนาในแนวทางสร้างสรรค์ใหม่ใหม่
ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนทำงานศิลปะเพื่อพัฒนาไปสู่ศิลปะที่เป็นงาน Art and craft ที่สามารถแสดงถึงความสร้างสรรค์และนำไปสู่ผลงานเชิงธุรกิจต่อเนื่องเป็นงานเชิงพาณิชย์ได้
ผู้ผ่านเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย
• คุณช่อฟ้า หงษ์สิทธิชัยกุล ชื่อผลงาน Tom Yum Kung (Mongkhon) ต้มยำกุ้ง (มงคล)
• คุณสุจิตรา พาหุการณ์, คุณเพชรน้ำหนึ่ง เจริญภูมิ, คุณขนิฐา นารา ชื่อผลงาน วิถีใต้
• คุณศรัณย์ เหมะ, คุณเหมวรรณ ศรีสุวรรณ์ ชื่อผลงาน Light Hitting Water
• คุณภัทรบดี พิมพ์กิ ชื่อผลงาน เหลี่ยม/ทอ/ประกาย Brilliant Cut of Mat Gems
• คุณอภิเษก นรินท์ชัยรังษี ชื่อผลงาน โคมระย้าอัมพวา Amphawa Chandelier
• คุณปัทวี เข็มทอง ชื่อผลงาน มหัศจรรย์ใต้ท้องทะเล Under the Sea
• คุณรัฐพล. ทองดี, วัชรพล คำพรมมา ชื่อผลงาน ฮูปแต้ม Sim-i-san
• คุณอัรกาน หะยีสาเมาะ ชื่อผลงาน วาบุลัน Wabulan
• คุณสหรัฐ ศรีสมร ชื่อผลงาน เก้าอี้กนก Long Chair Ganok
• คุณถากูร เชาว์ภาษี ชื่อผลงาน พาราคราฟท์ PARA CRAFT
กิิจกรรมการตัดสินผู้ชนะเลิศ และรองชนะเลิศ พร้อมการจัดนิทรรศการแสดงผลงานประกวด ณ สศท.
17 มีนาคม 2568: ตัดสินผลงานรอบสุดท้ายและพิธีมอบรางวัล
17 - 21 มีนาคม 2568: จัดนิทรรศการแสดงผลงาน ณ สศท.
รางวัล
รางวัลชนะเลิศ: เงินสด 150,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ
รางวัลรองชนะเลิศ: เงินสด 100,000 บาท
ติดต่อสอบถาม : ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ดร.สุกานดา ถิ่นฐาน (ผู้ประสานงานโครงการ)
คุณเปี่ยมพร ฉายศรี (เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์)
โทรศัพท์: 086 564 4666 / 088 931 5345 Email: contact.icca2025@gmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น